Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ดาวหาง 2012 SI (ISON)

'ดาวหางสว่างกว่าดวงจันทร์' 
ดาวหางดวงนี้มีชื่อว่า 2012 SI (ISON)
Comet 2012 SI (ISON)
นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวหางดวงใหม่ คาดโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในปลายปีหน้า สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในเวลากลางวัน
ดาวหางดวงนี้มีชื่อว่า 2012 SI (ISON) ถูกตรวจพบครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่แล้วโดยนักดาราศาสตร์ชาวรัสเซีย อาร์เทียม โนวิโชน็อก กับวิตาลี เนฟสกี แห่งไอซอน (ISON-International Scientific Optical Network) และได้รับการยืนยันโดยสหภาพดาราศาสตร์สากลเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

เวลานี้ ดาวหาง 2012 เอสไอ อยู่ใกล้ดาวเสาร์ ถ้าใช้กล้องดูดาวที่มีกำลังขยายสูงจะมองเห็นเป็นวัตถุสลัวๆในทิศทางของกลุ่มดาวปู
ถ้าการคำนวณของนักดาราศาสตร์ไม่ผิดพลาด เจ้า 2012 เอสไอ ดวงนี้ จะสว่างขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมีความสว่างมากกว่าดวงจันทร์ในช่วงปลายปี 2556 ต่อต้นปี 2557

โลกเคยเห็นปรากฏการณ์แบบนี้ครั้งหนึ่ง เมื่อปีค.ศ. 1680

รามินเดอร์ ซิงห์ ซัมรา แห่งศูนย์อวกาศเอช.อาร์. แม็กมิลแลน ในเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา นักดาราศาสตร์ผู้คำนวณวิถีโคจรของดาวหางดวงนี้ บอกว่า หากเป็นไปตามคาด เจ้าก้อนหินผสมฝุ่นที่ว่านี้จะเป็นดาวหางที่สุกสว่างที่สุดดวงหนึ่งในประวัติศาสตร์
ดาวหางแต่ละดวงจะสว่างแค่ไหน แล้วแต่ว่ามีก๊าซและฝุ่นออกมาจากแกนกลางมากเพียงใด ยิ่งมีมวลสารถูกปล่อยออกมามาก และมีหางยาวมาก มันก็ยิ่งสะท้อนแสงเจิดจ้ามาก
ด้วยความที่ 2012 เอสไอมีขนาดค่อนข้างใหญ่ อาจมีความกว้างร่วม 3 กิโลเมตร และโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มาก นักดาราศาสตร์จึงคำนวณว่า มันอาจสว่างกว่าพระจันทร์เต็มดวงบนท้องฟ้ายามค่ำเสียอีก

นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้แน่ชัดว่า ดาวหางดวงนี้มีต้นกำเนิดจากที่ไหน แต่เส้นทางโคจรบ่งบอกว่า มันอาจหลุดออกมาจากกลุ่มเมฆออร์ต ซึ่งเป็นแหล่งชุมนุมของดาวหางนับพันล้านดวง อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ราว 50,000 เท่า หรือคิดเป็นระยะทางเกือบ 1 ปีแสงจากดวงอาทิตย์

เวลานี้ ดาวหาง 2012 เอสไอ อยู่ห่างจากโลกประมาณ 990 ล้านกิโลเมตร ระหว่างเส้นทางโคจรของดาวเสาร์กับดาวพฤหัสบดีดวงอาทิตย์กำลังดึงดูดดาวหางดวงนี้เข้าหา ต่อไปมันจะพุ่งผ่านดาวอังคารในระยะห่าง 10 ล้านกิโลเมตร
ผลการคำนวณวิถีโคจรในเวลานี้ บ่งบอกว่า เราจะเห็นมันจะสว่างที่สุดในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์หลังจากได้เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ซึ่งจะตกราววันที่ 28 พฤศจิกายน 2556

เมื่อดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในระยะประมาณ 2 ล้านกิโลเมตร ความร้อนและความโน้มถ่วงจากดวงอาทิตย์จะทำให้มันแตกตัว เราจึงเห็นมันสว่างขึ้น

ซัมรา บอกว่า ผลการคำนวณชี้ว่า มันอาจสว่างเท่ากับพระจันทร์เต็มดวง และอาจมองเห็นได้ในเวลากลางวัน แต่การคาดการณ์นี้อาจผิดพลาดก็เป็นได้ เวลาข้างหน้าจะเป็นเครื่องพิสูจน์

เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen

รายการบล็อกของฉัน