นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวฤกษ์ซึ่งเป็นเพชรส่องแสงระยิบระยับทั้งดวง
มีน้ำหนักถึง 10 พันล้าน ล้านล้าน ล้านล้านกะรัต
พบดาวเพชรทั้งดวง น้ำหนักใหญ่โตมโหฬาร ขนาดเท่ากับเป็นก้อนโคตรผลึกคาร์บอนยักษ์ มีขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง 4,000 กม. รวมอยู่ในกลุ่มดาวเวนทอรัส ห่างจากโลกเป็นระยะทางถึง 50 ปีแสง มันเป็นซากดาวฤกษ์เก่าที่เคยส่องแสงแรงกล้าทำนองดวงอาทิตย์ของเรา แต่ภายหลังได้หรี่แสงและหดตัวลง นักดาราศาสตร์ได้ตกลงตั้งชื่อให้มันว่า 'ดาวลูซี่' ตามอย่างชื่อเพลงของวงดนตรีสี่เต่าทอง
นักดาราศาสตร์ทราวิส เมตแคลฟ์ ของศูนย์ฟิสิกส์ดวงดาวฮาร์วาร์ด สมิธโซเนียน อธิบายว่า ดาวเพชรยักษ์ ที่จริงแล้วเป็นดาวแคระขาวที่ตกผลึก ดาวแคระขาวเป็นแก่นร้อนแรงของดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง มันเท่ากับเป็นซากของดาวฤกษ์ที่ได้เผาผลาญเชื้อเพลิงนิวเคลียร์จนเกลี้ยงและตายลง กลายเป็นถ่านหมดทั้งดวง" เราเชื่อว่าแกนคาร์บอนของดาวแคระขาว จะแข็งตัวเป็นเพชรเม็ดยักษ์ของกลุ่มดาว
นักดาราศาสตร์ยังเชื่อว่า ดวงอาทิตย์ของเรา อีกสัก 5 พันล้านปี ก็จะต้องกลายเป็นดาวแคระขาวไปในที่สุด และต่อจากนั้นไปอีก 2 พันล้านปี แกนอำพันของดวงอาทิตย์ก็จะตกผลึก เหลือแต่ก้อนเพชรยักษ์อยู่ตรงกลางของสุริยจักรวาล 'ดวงอาทิตย์ของเราจะกลายเป็นเพชรจริงๆไปชั่วนิรันดร์กาล'
เขาว่าเพชรเม็ดงามคู่กับหญิงสวย แต่ลองถ้าเป็นเพชรเม็ดใหญ่เท่าดาวเนปจูนล่ะ?
ก็คงต้องคู่กับนักดาราศาสตร์
เพชรเม็ดขนาดนี้มีอยู่จริง และอยู่ในดาราจักรทางช้างเผือกเรานี้เอง ไม่ใกล้ไม่ไกลแค่ 4,000 ปีแสง ในทิศทางของกลุ่มดาวงู ดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นบริวารของพัลซาร์ พีเอสอาร์ เจ 1719-1438 (PSR J1719-1438) ค้นพบโดยคณะนักวิจัยนานาชาติที่ใช้กล้องโทรทรรศน์ไซโร (CSIRO) ของหอดูดาวพากส์ในออสเตรเลีย การสำรวจของคณะนี้ทำโดยถ่ายภาพตามจุดต่าง ๆ ของท้องฟ้าต่างกัน 90,000 จุด แต่ละจุดใช้เวลารับแสงนาน 9 นาที
พัลซาร์เกิดขึ้นเมื่อดาวฤกษ์ดวงหนึ่งได้ยุบลงไปเป็นดาวนิวตรอน พัลซาร์ทั่วไปมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 20 กิโลเมตร มันจะยิงคลื่นวิทยุออกมาเป็นลำและกวาดออกไปในอวกาศ หากลำนั้นชี้มายังโลก และมีกล้องโทรทรรศน์ส่องอยู่ที่ตำแหน่งนั้น กล้องก็จะมองเห็นคลื่นวิทยุแผ่ออกมาเป็นพัลส์สั้น ๆ หากพัลซาร์นั้นมีดาวเคราะห์โคจรรอบอยู่ด้วย แรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์จะรบกวนพัลส์นี้ซึ่งตรวจจับได้ และนี่คือสาเหตุที่นักดาราศาสตร์ตรวจพบดาวเคราะห์ของพัลซาร์นี้ ปัจจุบันพบว่ามีพัลซาร์ราว 70 เปอร์เซ็นต์ที่มีดาวเคราะห์เป็นบริวาร
จากการวิเคราะห์การกล้ำของพัลส์วิทยุ นักดาราศาสตร์สามารถวัดคาบการโคจรรอบพัลซาร์ ระยะห่างจากพัลซาร์ และขนาดของดาวเคราะห์บริวารได้ สำหรับบริวารของ พีเอสอาร์ เจ 1719-1438 นี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต่ำกว่า 60,000 กิโลเมตร อยู่ห่างจากพัลซาร์ 600,000 กิโลเมตร และโคจรรอบพัลซาร์ครบรอบทุก 2 ชั่วโมง
แม้ดาวเคราะห์ดวงนี้จะมีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่มีความหนาแน่นมากกว่าดาวพฤหัสบดีที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 142,984 กิโลเมตร
ความหนาแน่นที่สูงกว่าปกตินี้เองที่เป็นเบาะแสถึงต้นกำเนิดที่ไม่ธรรมดาของดาวเคราะห์ดวงนี้ เมื่อนักดาราศาสตร์ศึกษารายละเอียดแล้ว กลับพบว่าแท้จริงแล้วเป็นซากของดาวฤกษ์มวลสูง ดาวฤกษ์ดวงนี้เคยเป็นดาวสหายกับพัลซาร์ เจ 1719-1438 มาก่อน สันนิษฐานว่ามันได้โคจรรอบพัลซาร์และตีวงแคบเข้าเรื่อย ๆ ทำให้พัลซาร์หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูงมากพร้อมกับดึงดูดสสารจากผิวของดาวฤกษ์ไป
ปัจจุบันนี้กระบวนการแย่งสสารได้ยุติลงและระบบก็เข้าสู่เสถียรภาพแล้ว พัลซาร์ เจ 1719-1438 ได้กลายเป็นพัลซาร์มิลลิวินาทีที่หมุนรอบตัวเองเร็วถึง 10,000 รอบต่อนาที
ส่วนดาวฤกษ์ที่ถูกสูบเลือดสูบเนื้อไปมากถึง 99.9 เปอร์เซ็นต์ของมวลเดิม ขณะนี้หลือเพียงแกนที่เป็นคาร์บอน และด้วยเหตุที่มีความดันมหาศาล ทำให้คาร์บอนนี้มีโครงสร้างเป็นผลึกแบบเพชร แต่คาร์บอนในดาวดวงนี้จะมีความหนาแน่นมากกว่าเพชรบนโลกมาก
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen