Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เฟเอธอน ดาวลึกลับสีน้ำเงิน


ส่วนใหญ่ดวงดาวต่างๆในอวกาศมักจะมีสีของดวงดาวที่เป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลซึ่งเป็นสีของพื้นผิวของดาวดวงนั้นๆ ตามแค่ว่าพื้นดินของดาวจะมีแร่ธาตุอะไรมากที่สุด และดาวเคราะห์ทั่วไปก็มักจะได้รับพลังงานแสงจากดาวฤกษ์อย่างเช่นดวงอาทิตย์ ส่งผลให้ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่มักมีสีแดงหรือสีส้มรำไร แต่มีดาวดวงหนึ่งในอวกาศ มีสีที่ต่างออกไป นั่นก็คือ “สีน้ำเงิน” ดาวเคราะห์สีน้ำเงินนี้จะเป็นอย่างไร วันนี้จะพาเพื่อนๆไปทำความรู้จักกับมันกัน

เมื่อปี ค.ศ. 1983 นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากดาวเคราะห์น้อยทั่วไปนั่นก็เพราะว่ามันมีสีน้ำเงิน ซึ่งการค้นพบในครั้งแรกก็สร้างความประหลาดใจให้กับนักดาราศาสตร์เป็นอย่างมากว่าทำไมมันถึงมีสีน้ำเงินอย่างนั้น

👉นักดาราศาสตร์ตั้งชื่อให้ดาวดวงนี้ว่า “เฟเอธอน” ซึ่งใครก็ตามที่ได้ทำการศึกษาดาวดวงนี้ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ามันเป็นดาวเคราะห์น้อยสีน้ำเงินที่แปลกประหลาดมากๆเพราะสีน้ำเงินที่เราเห็นนั้นเกิดมาจากการสะท้อนออกมาจากพื้นผิว ซึ่งโดยทั่วไปแล้วดาวเคราะห์ หรือดาวเคราะห์น้อยทั่วไปจะมีสีเทาหรือสีแดง ตามแต่ละองค์ประกอบของพื้นดินในดาวเเต่ละดวง แล้วองค์ประกอบอะไรถึงทำให้ดาวดวงนี้มีสีน้ำเงินสะท้อนออกมา แถมยังเป็นสีน้ำเงินที่เข้มมากโดดเด่นในละแวกหมู่ดาวที่มันอาศัยอยู่

จากการสำรวจและการศึกษาของนักดาราศาสตร์ได้พบว่าดาวเฟเอธอน มีคุณสมบัติและพฤติกรรมคล้ายกับดาวหาง ซึ่งดาวหางนั้นมีส่วนประกอบเป็นก้อนหิมะแข็งๆที่มีองค์ประกอบเป็นหิน น้ำเเข็งและฝุ่น รวมถึงแก๊สเยือกแข็งบางชนิด โดยหากมันได้รับพลังงานจากดาวฤกษ์จะทำให้น้ำแข็งที่อยู่บริเวณโดยรอบระเหิดขึ้นมาเป็นไอ ทำให้เรามองเห็นเป็นหาง จึงทำให้เรียกว่าดาวหาง ซึ่งดาวหางจะมีวงโคจรที่เป็นวงรีที่เรียวมากๆ ปลายข้างหนึ่งจะอยู่ใกล้ดาวฤกษ์หรือว่าดวงอาทิตย์ ส่วนอีกข้างหนึ่งจะอยู่ไปทางด้านนอกของระบบสุริยะ

👉ซึ่งดาวเฟเอธอนนี้เองก็ดูคล้ายกับว่าจะมีความเกี่ยวโยงอะไรบางอย่างกับดาวหาง เพราะนอกจากที่มันจะมีวงโคจรที่มีทิศทางคล้ายกับดาวหางแล้ว ดาวเฟเอธอนยังน่าจะเป็นที่มาของฝนดาวตกเจมินิดส์ ซึ่งเป็นกลุ่มของฝนดาวตกกลุ่มหนึ่ง โดยทั่วไปการเกิดปรากฎการณ์ฝนดาวตกจะเกิดขึ้นเมื่อโลกโคจรผ่านเศษฝุ่นที่ดาวหางปล่อยทิ้งไว้ตามวงโคจร โดยถ้าหากดาวหางโคจรมาตัดกับวงโคจรของโลกเมื่อไรก็จะเกิดฝนดาวตกที่นั่น และดาวเฟเอธอนเองนั้นก็เป็นแหล่งที่มาของฝนดาวตกเจมินิดส์ เพราะเส้นทางโคจรของฝนดาวตกกลุ่มนี้ดันไปเหมือนกับวงโคจรของดาวเฟเอธอน

ก่อนหน้าที่นักดาราศาสตร์จะพบดาวเฟเอธอน พวกเขาต่างตั้งสมมติฐานว่าฝนดาวตกนั้นเกิดมาจากดาวหาง โดยไม่คาดคิดถึงว่ามันน่าจะเกิดจากดาวเคราะห์น้อย จนเขามาพบดาวเฟเอธอน ซึ่งมีวงโคจรที่คล้ายคลึงกับดาวหาง และเป็นไปได้ว่า มันอาจจะเป็นแหล่งที่เกิดฝนดาวตก ในครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์พบดาวเฟเอธอนที่มีสีน้ำเงินนั้น บางคนได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าดาวเฟเอธอนอาจจะเป็นชิ้นส่วนหนึ่งของดาวหางที่ดับสูญแล้ว เพราะองค์ประกอบและวงโคจรที่เหมือนกับดาวหางทำให้ไม่แปลกที่จะมีนักดาราศาสตร์บางคนคิดเช่นนั้นในตอนนั้น

👉แต่สิ่งที่น่าสงสัยและขัดแย้งต่อความคิดนักดาราศาสตร์ในช่วงนั้นคือ ดาวหางที่หมดอายุขัยส่วนใหญ่จะมีสีแดงคล้ำไม่ได้มีสีน้ำเงินอย่างดาวเฟเอธอน จึงทำให้ยังไม่มีใครกล้าฟันธงได้ว่ามันคืออะไร ต่อมาได้มีการศึกษาดาวเฟเอธอนเพิ่มเติมและได้พบว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้สามารถโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ได้ใกล้มากๆ และเมื่อมันเข้าไปใกล้มันจะมีอุณหภูมิของพื้นผิวถึง 800 องศาเซลเซียส ซึ่งความร้อนขนาดนี้มันสามารถทำให้บางสิ่งบางอย่างหลอมละลายได้เลย

และเมื่อมันเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากเท่าไร ความร้อนจากดวงอาทิตย์นั้นจะส่งผลให้มันปล่อยฝุ่นละอองออกมาเป็นหาง คล้ายกับดาวหาง ซึ่งดาวเฟเอธอนนับว่าเป็นดาวเคราะห์น้อย 1 ใน 2 ดวงในระบบสุริยะเท่านั้นที่จะสามารถทำเเบบนี้ได้ และมันก็ยังทำให้นักดาราศาสตร์นั้นเกิดการสับสนระหว่างการแยกประเภทของดาวหางและดาวเคราะห์น้อยไปอีก

👉สำหรับดาวเคราะห์น้อยสองดวงในระบบสุริยะที่มีสีน้ำเงินนั่นก็คือ 2พัลลัส กับ เฟเอธอน นักดาราศาสตร์จึงทำการศึกษาเพื่อหาข้อแตกต่างของสองดาวนี้ว่ามีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร พวกเขาได้ทำการศึกษาข้อมูลจากการใช้กล้องโทรทรรศน์อินฟาเรดบนเขามาอูนาของรัฐฮาวาย และศึกษาจากกล้องโทรทรรศน์ทิลลิงดาสท์ของห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ดาราศาสตร์สมิธโซเนียน ในรัฐแอริโซนา มาวิเคราะห์ถึงความแตกต่าง เพราะมีข้อสังเกตว่า ดาว 2 พัลลัสเป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ที่มีสีน้ำเงินเช่นเดียวกัน

ดังนั้นดาวเฟเอธอนที่มีสีน้ำเงินเเต่มีขนาดเล็กกว่าประมาณหนึ่งมันอาจจะเคยเป็นส่วนหนึ่งของดาว 2 พัลลัสก็เป็นไปได้ ซึ่งจากการศึกษาแล้วพบว่าดาวเฟเอธอนมีสีน้ำเงินที่เข้มมากกว่า 2 พัลลัส แต่มีการสะท้อนแสงออกมาน้อยกว่า นอกจากนี้ดาวเฟเอธอนยังมีสีน้ำเงินกระจายอย่างสม่ำเสมอในทั่วบริเวณพื้นผิว ซึ่งข้อแตกต่างนี้เองก็ยังคงทำให้ดาวเฟเอธอนเป็นปริศนา เพราะว่ายังหาคำตอบไม่ได้ว่ามันเป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีสีน้ำเงินได้อย่างไร

อย่างไรก็ตามทุกปริศนาย่อมต้องมีการพิสูจน์ไม่ช้าก็เร็ว เเละพวกเราเชื่อว่าอีกไม่นานนักดาราศาสตร์น่าจะหาคำตอบของแหล่งที่มาของดาวเฟเอธอนมาให้ได้ 
แล้วเพื่อนๆละคะ คิดว่าดาวเฟเอธอน เป็นดาวเคราะห์น้อยที่เกิดจากอะไรและทำไมมันถึงเป็นสีน้ำเงิน อย่าลืมมาคอมเมนท์พูดคุยกันดูนะ
สำหรับวันนี้เรื่องราวดีๆของเราก็มีเพียงเท่านี้ แต่ก่อนจะไป อย่าลืมกด Like กด Share และกดติดตามด้วยนะ

รายการบล็อกของฉัน