ค้นหา
นักดาราศาสตร์คาดว่าในแกแล็กซีทางช้างเผือกนั้นมีหลุมดำอยู่มากถึง 100 ล้านแห่ง ซึ่งหลุมดำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีมวลไม่เกิน 20 เท่าของดวงอาทิตย์ แต่จากข้อมูลล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนได้ทำลายข้อสันนิษฐานนี้ลง
ทีมนักวิทยาศาสตร์นำโดย ศาสตราจารย์ LIU Jifeng จากหอดูดาวแห่งชาติของจีน ได้ค้นพบหลุมดำที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 70 เท่า ซึ่งอยู่ห่างจากโลกของเราประมาณ 15,000 ปีแสง และตั้งชื่อให้กับหลุมดำนี้ว่า
โดยใช้กล้องโทรทรรศน์สำรวจอวกาศ Large Sky Area Multi-Object Fiber Spectroscopic Telescope (LAMOST) ของจีน เพื่อค้นหาดาวฤกษ์และวัตถุที่ไม่สามารถมองเห็นได้มาก่อน
เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาหลุมดำนี้ถูกค้นพบจากการที่มันดูดกลืนแก๊สจากดาวข้างเคียง ส่งผลให้มีการปล่อยคลื่นรังสีเอ็กซ์ออกมาอย่างรุนแรงจนสามารถตรวจจับได้จากบนโลก ซึ่งเผยให้เห็นวัตถุที่กำลังยุบตัว แต่โดยปกติแล้ว หลุมดำที่เป็นดาวเด่นในแกแล็กซี่มักจะไม่มีส่วนร่วมกับดาวดวงอื่นๆ และไม่ปล่อยรังสีเอ็กซ์ออกมา จึงทำให้เราสามารถระบุตัวตนของหลุมดำเหล่านั้นได้เพียงหลักสิบแห่งเท่านั้น