Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2561

เราอาจต้องเผชิญยุค ดวงอาทิตย์หลับ ยาวทำให้โลกหนาวเย็น นานขึ้น

ภาพอธิบายวัฏจักรของดวงอาทิตย์
เราอาจต้องเผชิญยุค ดวงอาทิตย์หลับ ยาวทำให้โลกหนาวเย็น นานขึ้น!!

นักดาราศาสตร์เผยข้อมูลที่อาจส่งผลให้โลกต้องเผชิญกับยุคที่ความหนาวเย็นนานต่อเนื่องในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ เนื่องจากเข้าสู่ยุค ดวงอาทิตย์หลับ เป็นวัฏจักรของดวงอาทิตย์ที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ

เมื่อวันนี้ 17 ธ.ค. 60 ที่ผ่านมา นายวิมุติ วสะหลาย กรรมการวิชาการสมาคมดาราศาสตร์ไทย ได้กล่าวว่า ขณะที่หลายๆคนกำลังรอคอยที่จะได้สัมผัสอากาศหนาวเย็นเฉียบพลัน ซึ่งทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์ไว้ว่าจะเกิดขึ้นในวันที่ 19 ธ.ค.ที่จะถึงนี้
นายวิมุติ ยังได้กล่าวต่ออีกว่า สำหรับนักวิทยาศาสตร์ที่ได้ศึกษาดวงอาทิตย์กำลังมองไปไกลกว่าการหนาวเย็นฉับพลันนี้ นั่นคือ โลกอาจจะต้องเผชิญหน้ากับยุคที่มีความหนาวเย็นต่อเนื่องในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ 

สาเหตุนั้นเกิดจากปรากฏการณ์วัฏจักรของดวงอาทิตย์ที่เปลี่ยนไปตามช่วงอายุไข โดยดวงอาทิตย์นั้นจะมีช่วงวัฏจักรเป็นของตัวเองที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ และถูกเรียกว่า วัฏจักรของกัมมันตภาพสุริยะ เช่นการเกิดจุดดับบนดวงอาทิตย์หรือ (Sunspot) และการระเบิดพลัง หรือ(Flare) ซีเอ็มอีที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดพายุสุริยะ

กล่าวคือถ้าช่วงเวลาไหนที่ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยามากเราจะเรียกช่วงเวลานั้นว่าดวงอาทิตย์กำลังแอ๊กทีฟ ซึ่งโดยปกติ กัมมันตภาพในดวงอาทิตย์มีวัฏจักรขึ้นลงเป็นช่วงอยู่แล้ว ในช่วงที่กัมมันตภาพขึ้นสูงสุดหรือโซลาแม็กซ์ ดวงอาทิตย์ระเบิดพลังงานออกมาสูงกว่าช่วงอื่นจะทำให้ย่านอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวีสูงตามขึ้นอีกด้วย วัฏจักรความมากน้อยในการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์นั้นมีผลต่อสภาพภูมิอากาศของโลกอยู่ไม่น้อย แม้จะไม่เด่นชัดนักก็ตาม แต่ถ้าหากวัฏจักรรอบใดเกิดขึ้นเป็นระยะเวลายาวนานแล้ว ก็อาจมีผลต่อสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นอย่างมาก และสิ่งนั้นก็กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

นายวิมุติ ได้กล่าวว่า”ขณะนี้เราอยู่ในช่วงปลายวัฏจักรที่ 24ของดวงอาทิตย์ (นับจากปี ค.ศ.1755) ซึ่งได้ผ่านช่วงพีคลงสุดมาแล้วในปีพ.ศ 2556 เป็นวัฏจักรที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมการระเบิดของดวงอาทิตย์เท่าใดนัก และจากการศึกษาของนักดาราศาสตร์หลายคน พบว่าวัฏจักรที่ 25 นั้นจะเริ่มขึ้นในราวปี พ.ศ 2563 และมีแนวโน้มว่าการแผ่ของรังสีจะน้อยลงไปอีก อาจเป็นวัฏจักรที่คึกคักน้อยที่สุดในรอบ 100 ปีก็เป็นได้ 
แน่นอนว่าหากดวงอาทิตย์หลับยาวนานต่อเนื่องหลายวัฏจักรติดกัน ก็จะส่งผลทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลกอย่างมาก และสิ่งนี้ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วง ค.ศ.1645-1715 เรียกว่าช่วงมอนเดอร์ ในช่วงเวลานั้นพบว่าสภาพภูมิอากาศของโลกมีความแห้งแล้งและหนาวเย็น ถึงขนาดที่แม่น้ำเทมส์ในประเทศอังกฤษได้กลายเป็นน้ำแข็งในฤดูหนาวเลยทีเดียว”

รายการบล็อกของฉัน