โลกอาจเคยมีดวงจันทร์บริวารหลายดวงที่หายไป
เมื่อปีที่แล้วองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกาหรือองค์การนาซา ประกาศยืนยันว่าโลกเรามีดวงจันทร์อีกดวงหนึ่งที่โคจรรอบโลก ชื่อว่า 2016 HO3 แต่สถานะของดวงจันทร์ที่พบใหม่นี้ไม่นับว่าเป็นดวงจันทร์ตามธรรมชาติ แถมยังอยู่ไกลจากโลกมากน่าจะหลุดวงโคจรออกไปอีก ประมาณ 100 ปีข้างหน้า ไม่เป็นอันตรายต่อโลกแน่นอน
จึงถูกยกเป็นแค่ดาวเคราะห์น้อยกึ่งบริวารของโลก ต่างไปจากดวงจันทร์ที่เรามองเห็นอยู่บนท้องฟ้าอยู่แทบจะทุกวี่วัน ซึ่งมีสถานะเป็นดวงจันทร์ตามธรรมชาติและเป็นบริวารของโลก
แต่ไม่นานมานี้ มีทีมนักวิทยาศาสตร์ด้านดวงดาวในประเทศอิสราเอล เยอรมนี และออสเตรีย ได้ร่วมกันยืนยันความคิดใหม่ๆ ว่าในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของโลกเรานั้น อาจมีบริวารแท้ของดาวเคราะห์ (Natural satellite) และมีดวงจันทร์ขนาดเล็กๆ จำนวนมากมายโคจรอยู่โดยรอบ
แต่ที่เหลือให้เห็นเพียงดวงเดียวในทุกวันนี้ ก็น่าจะเกิดจากการชนกันของดาวเคราะห์ที่มีขนาดใกล้
เคียงโลกและการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ขนาดเล็กๆ ภายใต้อิทธิพลแรงโน้มถ่วง
ทีมนักวิทยาศาสตร์เผยว่าได้สร้างแบบจำลองของการปะทะชนระหว่างโลกกับบรรดาดวงจันทร์ที่ผ่านมาในสมัยโบราณ ซึ่งแบบจำลองดังกล่าวทำนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเคยมีดวงจันทร์จำนวนหนึ่งเกิดการปะทะชนจนแตกเป็นเสี่ยงๆ จากนั้นก็รวมเข้าหากันกลายเป็นดวงจันทร์ดวงเดียวที่โคจรรอบโลกในปัจจุบันนั่นเอง.
Custom Search