Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

นักวิทย์ลงทุน 3 หมื่นล้าน เจาะสำรวจใจกลางโลก พื้นที่ที่มนุษย์ไม่เคยเข้าถึงมาก่อน

นักวิทย์ลงทุน 3 หมื่นล้าน เจาะสำรวจใจกลางโลก พื้นที่ที่มนุษย์ไม่เคยเข้าถึงมาก่อน
ที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกา รัสเซีย อินเดีย และจีน รวมทั้งอีกหลายประเทศที่มีเทคโนโลยีระดับสูงและเงินทุนเพียงพอได้ส่งยานอวกาศ ดาวเทียม แท้กระทั่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศขึ้นไปโคจรนอกโลก เพื่อถ่ายทอดภาพ หรือ ข้อมูลดาวดวงอื่นกลับมาให้นักดาราศาสตร์ และ นักวิทยาศาสตร์แขนงอื่นได้วิเคราะห์วิจัยสภาพของดาวดวงอื่น

แต่มนุษย์กลับรู้จักโลกดวงนี้ น้อยกว่าดวงจันทร์หรือดาวอังคาร ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์มีโอกาสสำรวจพื้นที่โลกใต้สมุทรเพียงไม่เกิน 10% ของพื้นที่ใต้ท้องทะเลทั่วโลก และยิ่งไปกว่านั้น มนุษย์ยังรู้จักกับสภาพที่แท้จริงใต้พื้นผิวโลกน้อยกว่านั้นมาก ความรู้ที่ใช้ในการพยากรณ์แผ่นดินไหว หรือ การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก หรือ การสำรวจแหล่งแร่นั้น ก็อาศัยทฤษฎีและหลักสถิติในการประเมินและพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเท่านั้น
ในทฤษฎีภูมิศาสตร์โลกระบุว่า ลักษณะทางกายภาพของโลกแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ประกอบไปด้วย ชั้นเปลือกโลก ชั้นแมนเทิล และแกนโลก ว่ากันว่าความลึกลับนี้ได้ซ่อนความจริงเกี่ยวกับกระบวนการกำเนิดโลกไว้อยู่ข้างใต้นั้น

จนตอนนี้ได้มีทีมนักวิทยาศาสตร์จากประเทศญี่ปุ่น(JAMSTEC) ได้ออกมาประกาศว่าจะทำการเจาะเปลือกโลกให้สำเร็จเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ให้ได้ แม้มนุษย์จะพยายามศึกษาความลับของเปลือกโลกมานานกว่า 50 ปี แต่ก็ยังไม่สามารถเจาะผ่านเปลือกโลกได้สำเร็จ ซึ่งความพยายามครั้งล่าสุดสามารถทำได้ราว 700 เมตร เท่านั้น

นักวิทยาศาสตร์ต้องหาจุดที่ชั้นเปลือกโลกมีความบางมากที่สุด และได้พบกับจุดหมายแล้วในมหาสมุทรแปซิฟิก ดังนั้นการเจาะจึงต้องอาศัยเรือขุดเจาะและท่อขุดเจาะที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษสามารถรองรับแรงกดดันมหาศาลในบริเวณที่ต้องการสำรวจได้
เครื่องมือที่ใช้ในภารกิจขุดเจาะครั้งนี้ก็คือ “เรือขุดเจาะ Chikyu” เป็นเรือขุดเจาะและสำรวจทางวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่นที่ถูกออกแบบมาเพื่อขุดเจาะก้นมหาสมุทรโดยเฉพาะ นักวิจัยได้วางแผนทำการเจาะลึกลงไปยังใต้ผิวมหาสมุทรประมาณ 4 กิโลเมตร จากนั้นจะเจาะผ่านเปลือกโลกลงไปอีกประมาณ 5.9 กิโลเมตร เพื่อเก็บตัวอย่างจาก “เนื้อโลก” หรือ Mantle มาทำการศึกษา
แล้วพวกเขาเจาะไปเพื่ออะไร?
– เก็บตัวอย่างหินหนืดในชั้นแมนเทิล
– คาดเดาแผ่นดินไหวในอนาคต
– ค้นหาตำตอบเกี่ยวกับกำเนิดโลก
– เพื่อทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลง
ของสภาพภูมิศาสตร์ และ สภาวะอากาศโลกมากขึ้น
– ศึกษาการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกของทวีปต่างๆ
อย่างไรก็ตาม โครงการที่ทะเยอทะยานสุดแสนนี้จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล ราว 60 พันล้านเยน (ประมาณ $540 ล้านเหรียญ) เหล่านักวิทยาศาสตร์จึงต้องระดมเงินทุนจากรัฐบาลประเทศต่างๆ มาสนับสนุน นักวิจัยเชื่อว่าภายในปี 2030 จะสามารถเริ่มการขุดเจาะได้อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการขุดอีกสองแห่งคือ นอกชายฝั่งของเม็กซิโก และบริเวณใกล้ๆ กับประเทศคอสตาริกา
ที่มา – digitaltrends , cnn

รายการบล็อกของฉัน