Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2560

NASA คิดว่า เราอาจต้องกลับไปให้ความสนใจยูเรนัสหรือเนปจูนอีกครั้ง


NASA คิดว่า เราอาจต้องกลับไปให้ความสนใจยูเรนัสหรือเนปจูนอีกครั้งเราอาจต้องกลับไปหาดาวเคราะห์ตกสำรวจอย่างยูเรนัสหรือเนปจูนกันอีกรอบ

ดาวเคราะห์แก้สขนาดใหญ่อย่างยูเรนัสยักษ์เขียวและเนปจูนยักษ์น้ำเงิน อาจกลับมาเป็นจุดสนใจของ NASA หลังจากที่ดาวทั้ง 2 ดวงนี้กลายเป็นลูกเมียน้อยมาหลายปี ไม่เคยมีใครคิดจะไปเฉียดใกล้มันเลยตั้งแต่ยานวอยเอจเจอร์ 2 เป็นต้นมา
เนปจูนยังดี เพราะหลังจากพลูโตหลุดไปจากครอบครัว เนปจูนก็กลายเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ไกลดวงอาทิตย์ที่สุดของระบบสุริยะแทน 

คือตำแหน่งนี้ทำให้มันยังพอมีอะไรให้คิดถึงบ้าง แตกต่างจากดาวเคราะห์ที่โลกลืมอย่างยูเรนัสที่เวลาใครพูดถึงเรื่อดาวเคราะห์ต่างๆ หากไม่ตั้งใจท่องเรียงลำดับ ยูเรนัสนี่แทบไม่เคยอยู่ในสมองเลย

NASA เตรียมวงเงินไว้ 2 พันล้านเหรียญวางโครงการไว้ 4 รูปแบบในการไปสำรวจดาวเคราะห์แก้สทั้ง 2 ดวงนี้ แต่ไม่สามารถไปหาทั้งคู่ได้ ต้องเลือกเอาดวงใดดวงหนึ่ง ที่สำคัญ รอบนี้ NASA ให้ความสนใจยูเรนัสมากกว่าเนปจูน 3 ต่อ 1

โครงการทั้ง 4 แบบตามรูปมีทั้งแบบส่งยาน orbiter ไปโคจร และแบบบินผ่านรอบเดียว หรือ flyby มีทั้งแบบที่นำยานเล็กหรือ probe ไปด้วยเพื่อใช้ทิ้งลงไปสำรวจบรรยากาศดาว กับแบบที่ไม่มียาน probe โดยหากเลือกจะไปยูเรนัส ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือปี 2030 ถึง 2034 แต่หากเลือกไปเนปจูนก็จะเป็นช่วงปี 2029  ถึง 2030 

โดยเลือกจากระยะทางที่โคจรเข้ามาใกล้โลก ซึ่งอย่างไรก็ตามเส้นทางเดินของยานอวกาศก็จะต้องตรงไปทำสลิงช็อตจากดาวพฤหัสก่อนเพื่อเป็นการประหยัดพลังงานและได้ความเร็วเพิ่มขึ้น
ผลที่ได้คือการเรียนรู้ระบบสุริยะยุคแรกเริ่ม เรียนรู้ระบบดาวอื่นๆแบบเปรียบเทียบไปถึงช่วงก่อกำเนิดและการวิวัฒนาการ

รายการบล็อกของฉัน