หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

พบหลุมดำเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา! หลุมดำนี้มีอายุมากถึง 13.2 พันล้านปี วิทยาศาสตร์งงกันเป็นไก่ตาแตกไม่รู้ว่าหลุมดำนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร


พบหลุมดำเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา!
หลุมดำนี้มีอายุมากถึง 13.2 พันล้านปี
วิทยาศาสตร์งงกันเป็นไก่ตาแตกไม่รู้ว่าหลุมดำนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

ถ้าพูดถึงตามหลักความเชื่อทางศาสนาที่มีพระเจ้าหรือนับถือพระเจ้าเขาก็จะอ้างว่าพระเจ้าสร้างมนุษย์สร้างจักรวาลสร้างหลุมดำสร้างอะไรต่างๆนานาแต่ความจริงแล้วจักรวาลหลุมดำ ธรรมชาติเกิดจากอะไรมันเกิดขึ้นมาเองหรือเปล่าหรือว่ามีผู้สร้าง


แต่รับรองว่าผู้สร้างที่อ้างว่าพระเจ้านั้นนะก็ยังไม่สามารถที่จะหาข้อมูลเหตุผลอะไรที่เป็นรูปธรรมมาแย้งพิสูจน์ได้ตามหลักวิทยาศาสตร์

เพราะฉะนั้นในปัจจุบันนี้เราควรจะยึดหลักวิทยาศาสตร์เหตุผบและความเป็นจริงมาเป็นการอ้างจะดีกว่านะครับ

พบหลุมดำเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา!
นักวิทยาศาสตร์เชื่อมีอายุเพียง 470
ล้านปีหลังจากบิ๊กแบงเท่านั้น ถ้าจักรวาลมีอายุ 13.7พันล้านปี หลุมดำนี้ก็จะมีอายุมากถึง 13.2 พันล้านปี

แถมยังมีขนาดใหญ่ยิ่งกว่าหลุมดำใจกลางทางช้างเผือกถึง 10 เท่า จนทำให้สงสัยกันว่ามันเกิดขึ้นได้ยังไง?

ด้วยการรวมพลังจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ 2ตัวคือ เจมส์ เวบบ์ (JWST) และ Chandra X-ray Observatory ของ NASAร่วมกับปรากฎการณ์เลนส์ความโน้มถ่วง(Gravitational lensing)
ทำให้นักดาราศาสตร์มองเห็นวัตถุสุดแปลกประหลาดที่ชื่อว่า UHZ1 ซึ่งได้รับการยืนยันว่านั่นคือ
หลุมดำมวลมหาศาลยิ่งยวด


“มันเป็นหลุมดำอย่างไม่ต้องสงสัย” Priyamvada Natarajan
นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเยลกล่าวเมื่อตรวจสอบผลการค้นหาผ่านรังสีเอกซ์“คุณกำลังจับก๊าซที่ถูกดึงด้วยแรงโน้มถ่วงเข้าไปในหลุมดำจริง ๆ
แล้วเร่งความเร็วขึ้นและมันก็เริ่มเรืองแสงในรังสีเอกซ์” 


ด้วยการประเมินข้อมูลต่าง ๆ จาก JWST
นักวิจัยก็สามารถวัดตัวเลขของสัตว์ร้ายตัวนี้ออกมาได้ มันเกิดขึ้นตอนที่จักรวาลมีอายุเพียง 3%ของอายุปัจจุบัน ทำให้มันมีอายุเพียง 470ล้านปีหลังบิ๊กแบงหรือพูดในทางกลับกันก็คือ
มันมีอายุ 13.2 พันล้านปีแล้วเป็นหลุมดำที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบกันมา

ทีมวิจัยประเมินกันว่ามันน่าจะมีมวลอย่างน้อย 10 ถึง100 ล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ทำให้มันมีขนาดใหญ่ยิ่งกว่าหลุมดำ Sagittarius A*ที่อยู่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราซึ่งมีมวลอยู่ 4.6 ล้านเท่าของดวงอาทิตย์ ส่งผลให้ UHZ1
กลายสัตว์ร้ายขนาดใหญ่ตั้งแต่ยุดแรกเริ่มของจักรวาล 


“มันเพิ่งจะเร็วเกินไปจริง ๆ
ในจักรวาลที่จะมียักษ์ขนาดใหญ่นี้” Natarajan เสริม

น่าแปลกใจที่เรื่องนี้เกิดขึ้นได้จริง ๆ
แล้วสิ่งนั้นก็มากับกาแล็กซีของมันตั้งแต่แรกเริ่มในจักรวาล” 

นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่าหลุมดำขนาดใหญ่เหล่านี้เกิดขึ้นได้ยังไง
มันอาจเกิดจากการชนกันของหลุมดำใหญ่หลาย ๆหลุมรวมกัน
ถ้าเป็นแบบนี้แสดงว่ามีหลุมดำอยู่อย่างมากมายในช่วงเริ่มต้นของจักรวาล
และนั่นก็หมายความว่ามีดวงดาวหรือสสารมากมายด้วยเช่นกัน แต่ก็ยังไม่มีใครยืนยันอะไรได้

“มันเป็นวัตถุที่ค่อนข้างจาง
และต้องขอบคุณโชคที่ทำให้ธรรมชาติขยายภาพให้เรา” Natarajan บอก
“เราคาดหวังว่าหน้าต่างใหม่จะเปิดขึ้นในจักรวาลและฉันคิดว่านี่เป็นร่องรอยแรก” 


FYI : เลนส์ความโน้มถ่วง (Gravitational lensing)คืออวกาศที่ถูกบิดเบี้ยวโดยแรงโน้มถ่วงมหาศาลซึ่งอาจเกิดจากกระจุกดาวฤกษ์ หรือกระจุกกาแล็กซี
ทำให้อวกาศรอบ ๆมันเบี้ยวโค้งเป็นวงกลมและขยายแสงที่อยู่ด้านหลังเห
มือนแว่นขยายช่วยให้นักดาราศาสตร์มองเห็นได้ไกลขึ้น