นักวิทย์ค้นพบฟอสฟอรัส บนดวงจันทร์เอนซาเลดัสเป็นผธาตุสำคัญสุดของสิ่งมีชีวิตตอนนี้ดวงจันทร์ของดาวเสาร์มีทุกอย่างเพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตแล้ว
นี่เป็นข่าวใหญ่จริง ๆ สำหรับใครที่ติดตามเกี่ยวกับอวกาศ โดยเฉพาะกับสิ่งมีชีวิตนอกโลก
เป็นที่น่ายินดีที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ต่างขวนขวายหาข้อมูลเกี่ยวกับการก่อกำเนิดชีวิตไม่ว่าในโลกหรือนอกโลกมันเป็นอะไรที่สร้างสรรค์และตั้งอยู่บนเหตุผลอ้างอิงที่มีข้อมูลมากที่สุด
ต่างกับอีกความเชื่อหนึ่งที่เชื่ออย่างงมงายว่าพระเจ้าสร้างโลกสร้างจักรวาลสร้างมนุษย์แต่ถ้าลองถามหาคำตอบหรือว่าข้อมูลอ้างอิงของบุคคลเหล่านี้ที่มีความเชื่อแบบนี้ส่วนมากมักจะหาเหตุผลและข้อมูลอ้างอิงมาแย้งหรือยืนยันไม่ได้
แค่ลองถามว่าพระเจ้ามีตัวตนหรือไม่เขาก็ยังหาคำตอบให้เราไม่ได้เลย
เพราะฉะนั้นเราจะต้องตั้งอยู่บนหลักความจริงและพิสูจน์ได้เท่านั้นถึงจะเชื่อได้ว่าสิ่งต่างๆเหล่านั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร
ไม่ใช่อยู่ๆก็จะมาเคลมพระเจ้าสร้างพระเจ้าสร้างแค่นั้นเอง
เมื่อนักวิทยาศาสตร์พบ ฟอสฟอรัส (Phosphorus) ธาตุที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการก่อร่างสร้างตัวของสิ่งมีชีวิตบนโลก (มีสัญลักษณ์ทางเคมีว่า P) อยู่บนดาวเอนเซลาดัส (Enceladus) ที่เป็นดวงจันทร์น้ำแข็งของดาวเสาร์
การค้นพบนี้ทำให้ เอนเซลาดัส กลายเป็นดาวนอกโลกดวงแรกสุดที่ผ่านกฎทุกของที่ต้องมีเพื่อเอื้อต่อการเกิดชีวิต เพราะธาตุองค์ประกอบของชีวิตนั้นดวงจันทร์น้ำแข็งดวงนี้มีมันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน และกำมะถัน
นักวิทยาศาสตร์พบได้ยังไง? ทีมวิจัยที่นำโดยศาสตราจารย์ Frank Postberg นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์จากมหาวิทยาลัย Freie Universität Berlin ประเทศเยอรมนี และทีมได้ทำกาวิเคราะห์ข้อมูลจากแสงที่สะท้อนเศษน้ำแข็งที่ถูกพ่นออกมาจากเอนเซลาดัสกว่า 300 ตัวอย่าง ซึ่งถูกเก็บโดยยานแคสสินีของ NASA
เนื่องจากธาตุและสารประกอบต่าง ๆ จะดูดซับและเปล่งแสงออกมาในช่วงความยาวคลื่นที่ต่างกัน หรือพูดง่าย ๆ ว่าสะท้อนแสงออกมาเข้มข้นต่างกัน
นักวิจัยก็สามารถระบุความแตกต่างพร้อมกับบอกได้ว่ามันคืออะไร สิ่งนี้เรียกว่าลายนิ้วมือทางเคมี และในงานวิจัยนี้พวกเขาก็พบ ฟอสฟอรัส
เมือคำนวณแล้ว พวกเขาประเมินว่า ฟอสฟอรัส อาจมีอยู่อย่างมากมายในมหาสมุทรของเอนเซลาดัส มากกว่าบนโลก 100 เท่า
มันเป็นธาตุที่สำคัญมากกับชีวิตบนโลก เพราะทุกเซลล์ดูดซับมันเอาไปสร้างเป็นแกนของเส้น DNA เอาไว้ซ่อมเยื่อมหุ้มเซลล์ รวมถึงมีผลกับกระดูกด้วย
“เรื่องใหญ่ก็คือมันละลายในมหาสมุทรและพร้อมสำหรับการก่อตัวของสิ่งมีชีวิตที่อาจเกิดขึ้น” ศาสตราจารย์ Postberg บอก แม้จะเป็นการประเมินแบบขั้นต่ำ ก็เชื่อว่ามหาสมุทรของเอนเซลาดัสมีฟอสฟอรัสอย่างอุดมสมบูรณ์พร้อมใช้งานมาก
อีกหนึ่งประเด็นสำคัญคือ บนโลก ฟอสฟอรัสนั้นหายากเพราะมันจะไปเกาะกับแคลเซียมกลายเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต แล้วทำให้สิ่งมีชีวิตเอาไปใช้ไม่ได้ นั่นหมายอาจความว่า การพบฟอสฟอรัสในปริมาณสูง อาจเป็นเพราะพวกมันติดอยู่กับสารประกอบเชิงซ้อนของสารอินทรีย์อยู่แล้วรึเปล่าตามที่ ดร. Mikhail Yu จากมหาวิทยาลัยแอริโซนาบอก
ยังไงก็ตามนักวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้าใจมหาสมุทรของดาวน้ำแข็งนี้อย่างแท้จริง ซึ่งอาจต้องให้ NASA ส่งหุ่นใหม่ที่มีรูปร่างเป็นงู (ที่เราลงข่าวไปช่วงก่อน) ไปสำรวจ ว่าจะเจอเซลล์สักเซลล์อยู่ที่นั่นจริงรึเปล่า แต่สิ่งที่มั่นใจได้ในตอนนี้เลยคือ เอนเซลาดัส พร้อมแล้วที่ก่อเกิดชีวิต อยู่ที่ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่
“มันอาศัยอยู่ได้ และยากที่จะโต้แย้งได้อย่างชัดเจน” ศาสตราจารย์ Postberg กล่าว “แต่เราไม่รู้ว่ามัน(สิ่งมีชีวิต)อาศัยอยู่หรือไม่ ผมคิดว่าเราพร้อมที่จะไปต่อแล้ว!”
เราจะไปที่นั่นเร็ว ๆ ได้ไหม พลีสสสสสสสสสสสสสส