Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2566

นักดาราศาสตร์พบหลุมดำ ใหญ่ที่สุดในจักรวาล มีมวลมหศาล


นักดาราศาสตร์พบหลุมดำ
ใหญ่ที่สุดในจักรวาล มีมวลมหศาล

จักวาลอวกาศลึกลับดำมืดยังมีอะไรๆที่รอให้ค้นหาอีกมากมาย


มันใหญ่ที่สุดในจักรวาล! นักดาราศาสตร์พบหลุมดำมวลมหศาลที่มากกว่าดวงอาทิตย์ 32.7 พันล้านเท่าทำลายสถิติหลุมดำทุกแห่งที่เคยรู้จักกันมาย่อยยับ และพวกเขาก็บอกว่ามันใหญ่แทบจะอยู่ขีดบนสุดของทฤษฎีกำเนิดจักรวาลที่อนุญาตให้หลุมดำมีขนาดใหญ่แบบนี้ได้

เจ้าสัตว์ประหลาดตัวนี้ถูกพบ ณ ใจกลางกาแล็กซีที่มีชื่อว่า Abell 1201 ที่อยู่ห่างออกไป 2.7 พันล้านปีแสง ยังดีที่ว่ามันไม่ได้สร้างความปวดหัวเหมือนที่ตอนกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์พบ เพราะยังพอมีเวลามันได้เติบโต แต่ก็ยังต้องทึ่งกับขนาดมันอยู่ดี

ตัวเลข 3 หมื่นล้านเท่าของดวงอาทิตย์นี้เป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงความมหึมาของมันแน่นอน แต่เราจะพยายามลองดูให้มันมีขนาดเท่าโลก ด้วยสเกลนั้น ดวงอาทิตย์ของเราจะมีขนาดประมาณลูกปิงปอง และโลกของเราจะมีขนาดราว ๆ ฝุ่นเม็ดหนึ่ง (สเกลอาจไม่เป๊ะ แต่เราอยากให้เห็นภาพชัดขึ้น) 


“นี่จึงเป็นการค้นพบที่น่าตื่นเต้นอย่างยิ่ง” James Nightingale จากมหาวิทยาลัย Durham ในสหราชอาณาจักรกล่าว 

ในตอนแรกพวกเขาก็ไม่รู้ว่าสิ่งที่อยู่ในกลาง Abell 1201 นี้คืออะไร แต่พวกเขาสังเกตความแปลกประหลาดได้บางอย่างตั้งแต่ปี 2003 นั่นคือสิ่งที่เรียกว่าเลนส์ความโน้มถ่วง โดยเป็นสิ่งที่ไอน์สไตน์ทำนายไว้นานแล้วเป็นร้อยปี เขาบอกว่าวัตถุที่มีมวลมากจะบิดอวกาศให้เบี้ยว และทำให้แสงที่เดินทางผ่านเลนส์นั้นเบี้ยวตาม

กล่าวคือ Abell 1201 มีอะไรบางอย่างไปบิดแสงที่เดินทางผ่านมันให้เบี้ยวเป็นรอยเปื้อน ๆ แสดงว่าสิ่งนั้นต้องมีมวลมหาศาลแน่นอน แต่ด้วยความที่เทคโนโลยียังไม่ล้ำพอ นักดาราศาสตร์จึงยังบอกไม่ได้ว่ามันคืออะไร ตอนนี้ผ่านมา 20 ปีแล้ว พวกเขาได้รู้สักที


การจำลองชุดข้อมูลแบบต่าง ๆ หลายแสนแบบบอกว่ามันคือหลุมดำมวล 3 หมื่นล้านเท่าของดวงอาทิตย์ที่ทำให้เกิดแสงเบี้ยวเช่นนั้น มันกลายเป็นหลุมดำตัวใหญ่ที่สุดในจักรวาลเท่าที่เคยพบกันมา และแทบจะอยู่ขีดบนสุดของทฤษฎีกำเนิดจักรวาลที่บอกว่าจะมีหลุมดำได้ไม่เกิน 5 หมื่นล้านเท่าของดวงอาทิตย์เท่านั้น

การค้นพบหลุมดำด้วยวิธีนี้อาจทำให้นักดาราศาสตร์ใช้มันหาหลุมดำอื่น ๆ ในจักรวาลนี้อีกก็เป็นไปได้ และไม่แน่ บางทีเราอาจจะพบหลุมดำที่ใหญ่กว่านี้ก็เป็นไปได้

รายการบล็อกของฉัน