Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

สิ่งมีชีวิตแรกในระบบสุริยะอาจเกิดขึ้นบนดาวอังคารก่อนโลก..

สิ่งมีชีวิตแรกที่เกิดบนดาวอังคาร อาจทำให้ตัวเองต้องสูญพันธุ์..ถ้าข้อมูลการวิจัยนี้เป็นความจริงมันก็จะค้านกับความรู้สึกของนักวิทยาศาสตร์หลายๆคนที่คิดว่าสิ่งมีชีวิตใน galaxy เกิดขึ้นบนโลกเป็นที่แรก

👉🏿แม้นักวิทยาศาสตร์จะยังค้นหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารไม่พบ แต่ข้อมูลใหม่ ๆ จากการสำรวจทำให้พวกเขาเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า

✴️อย่างน้อยในอดีตหลายพันล้านปีก่อน จะต้องเคยมีจุลินทรีย์อาศัยอยู่บนดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้แน่ แต่พวกมันอาจมีพฤติกรรมทำลายตัวเองจนต้องสูญพันธุ์ไปในที่สุด


สิ่งมีชีวิตแรกในระบบสุริยะอาจเกิดขึ้นบนดาวอังคารก่อนโลก

👉🏿ผลการศึกษาหินอุกกาบาตที่มาจากดาวอังคารชี้ว่า ดาวเคราะห์สีแดงในยุคเริ่มก่อตัว 4,500 ล้านปีก่อน เต็มไปด้วยสารอินทรีย์และน้ำที่สามารถให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตแรกของระบบสุริยะได้ ในขณะที่เวลาเดียวกันโลกยังคงมีสภาพไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต


🧔ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนของเดนมาร์ก ตีพิมพ์รายละเอียดของงานวิจัยข้างต้นลงในวารสาร Science Advances โดยระบุว่าได้วิเคราะห์หินอุกกาบาต 31 ก้อน รวมถึงอุกกาบาต NWA 7034 หรือ “ความงามสีดำ” (Black Beauty) ซึ่งถูกค้นพบที่ภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกาด้วย

👉🏿หินอุกกาบาตข้างต้นล้วนเป็นชิ้นส่วนของดาวอังคารในยุคโบราณ โดยพื้นผิวของดาวกระเด็นหลุดออกสู่ห้วงอวกาศ หลังถูกดาวเคราะห์น้อยจากรอบนอกของระบบสุริยะพุ่งชน และได้ตกลงมายังพื้นโลกในที่สุด

มีการใช้ธาตุไอโซโทปของโครเมียมตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบของหินอุกกาบาตดังกล่าว จนพบว่ามันคืออุกกาบาตจำพวก Carbonaceous chondrites ซึ่งเป็นหนึ่งในวัตถุที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของระบบสุริยะ และมีต้นกำเนิดมาจากแถบดาวเคราะห์น้อยอันไกลโพ้น

ข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ว่า ดาวอังคารในยุคเริ่มก่อตัว 100 ล้านปีแรก ถูกกระหน่ำพุ่งชนด้วยอุกกาบาตชนิดดังกล่าวจำนวนมหาศาล ซึ่งอุกกาบาตนี้ได้นำพาสารอินทรีย์ที่สำคัญต่อการให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตมายังดาวอังคารด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรดอะมิโนที่เป็นสารตั้งต้นของการผลิตสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ

👉🏿นอกจากนี้อุกกาบาตประเภท Carbonaceous chondrites ยังมีน้ำแข็งเป็นองค์ประกอบอยู่ราว 10% เสมอ ทำให้ประมานการได้ว่าอุกกาบาตที่พุ่งชนดาวอังคารยุคโบราณ สามารถจะให้กำเนิดห้วงน้ำขนาดใหญ่ที่แผ่ปกคลุมพื้นผิวดาวทั้งหมด โดยมีความลึกถึง 307 เมตร

หินอุกกาบาต NWA 7034 มีฉายาว่า “ความงามสีดำ” (Black Beauty)

🧔ศาสตราจารย์ มาร์ติน บิซซาโร ผู้นำทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนบอกว่า “ในช่วงก่อกำเนิดระบบสุริยะราว 4,500 ล้านปีก่อน โลกและดาวอังคารได้ก่อตัวขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกัน โดยในช่วง 100 ล้านปีแรกของดาวเคราะห์ทั้งสอง ต่างก็ถูกอุกกาบาตที่มีน้ำและสารอินทรีย์ปะปนอยู่พุ่งชนในจำนวนมหาศาลเหมือน ๆ กัน”

“ในขณะที่เงื่อนไขดังกล่าวสามารถเอื้ออำนวยให้เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นบนดาวอังคารในตอนนั้น แต่สภาพการณ์บนโลกกลับตรงกันข้าม เนื่องจากโลกที่เพิ่งเกิดใหม่ชนเข้ากับดาวเคราะห์โบราณดวงหนึ่งในเหตุการณ์ที่ให้กำเนิดดวงจันทร์ จนทำให้สูญเสียสารอินทรีย์และน้ำที่สะสมไว้ในช่วงแรกไปจนหมด”

👉🏿“ข้อมูลเหล่านี้ทำให้เราสันนิษฐานได้ว่า มีความเป็นไปได้สูงที่สิ่งมีชีวิตชนิดแรกในระบบสุริยะจะเกิดขึ้นบนดาวอังคารก่อนดาวเคราะห์ดวงอื่น รวมถึงโลกของเราด้วย” ศ. บิซซาโร กล่าวสรุป

รายการบล็อกของฉัน