สุดล้ำนำสมัย..นักฟิสิกส์เยอรมนี พบวิธีสร้าง“วาร์ปไดรฟ์” เดินทางได้เร็วเหนือแสง บิดงอ Space-Time ข้ามจักรวาล
ดร. อีริก เลนท์ซ จากมหาวิทยาลัย Gottingen ประเทศเยอรมนีได้รายงานว่า สามารถคำนวณวิธีการเดินทางที่เร็วกว่าแสงได้โดยไม่ละเมิดทฤษฎีสัมพันธภาพ โดยการสร้างฟองอวกาศขึ้นมาแล้วเดินทางไปในมิติที่ฟองอวกาศขยายตัวนั้น ก่อนที่จะดูเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ไปมากกว่านี้ เรามาดูกันว่านักฟิสิกส์เหล่านี้พูดถึงอะไรกัน
ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์กล่าวไว้ว่า ไม่มีสิ่งใดเร็วกว่าแสง และแรงโน้มถ่วงคือ Space-Time ที่เราคุ้นเคยกับเส้นตารางที่ยุบลงรอบโลก นั่นคือ ดร. อีริก สามารถคำนวณวิธีที่จะสามารถบิดงอ Space-Time เพื่อให้เกิดเป็นรูปร่างฟองคลุมยาน ซึ่งนั่นต้องใช้พลังงานมหาศาลที่จะสร้างแรงโน้มถ่วงขั้นสุดยอดเพื่อบิดงอ Space-Time ยิ่งกว่าหลุมดำทำ แต่อย่างน้อยเราก็ “คำนวณ” ค่าตัวเลขมันได้โดยไม่ทำให้เกิดการขัดแย้งกับทฤษฎีสัมพัทธภาพ เพราะการจะเดินทางด้วยความเร็วแสงนั้นต้องใช้พลังงานและมวลเป็นอนันต์
วิธีที่ ดร.อีริก ใช้คือ “Soliton” คำนวณในทฤษฎีควอนตัมเพื่อสร้างพลังงานลบ
พลังงานลบคืออะไร? พลังงานลบคือสิ่งที่ตรงข้ามกับพลังงานบวก(มันแน่อยู่แล้ว!) ยกตัวอย่างง่าย ๆ ครับ แรงโน้มถ่วงที่เราเจอเป็นปกติคือ แรงโน้มถ่วงแบบบวก มันคอยยึดโยงดาวต่าง ๆ ให้โครจรซึ่งกันและกัน เช่นดวงอาทิตย์สร้างแรงโน้มถ่วงแบบพวกกับโลก แต่ในทางควอนตัมนั้นมีแรงโน้มถ่วงลบ หรือแรงโน้มถ่วงแบบผลักอยู่ มันจะผลักกันเช่นเดียวกับขั้วแม่เหล็กที่เหมือนกันผลักกันไม่ให้เข้าใกล้ ไม่ว่าเราจะออกแรงแค่ไหน (สมัยเด็ก ๆ เราคงเคยเอาแม่เหล็กสองตัวมาพยายามผลักให้ติดกัน) สิ่งนี้จะเรียกง่าย ๆ ว่าพลังงานลบก็ได้
แล้ว Soliton คืออะไร? ในทางฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ Soliton คือคลื่นที่สามารถเคลื่อนที่ไปได้โดยที่ยังคงรูปร่างและความเร็วของตัวไว้ได้อย่างคงที่ ส่วนควอนตัมคือหลักเกณฑ์ที่อธิบายสิ่งที่อยู่เล็กยิ่งกว่าอะตอม
นั่นหมายความว่า ดร.อีริก สามารถคำนวณการใช้ Soliton ในระดับควอนตัมเพื่อสร้างพลังงานลบให้ไปบิดงอ Space-Time ได้ในจักรวาลปกติ เพื่อที่จะเดินทางเร็วกว่าแสงโดยไม่ละเมิดทฤษฎีสัมพัทธภาพที่ต้องใช้พลังงานบวกจำนวนอนันต์ในการเดินทางเท่าความเร็วแสง
เมื่อมันไปบิดงอ Space-Time ทำให้มันไม่ละเมิดกฎในจักรวาล 3 มิตินี้ นี่คือสิ่งที่เราได้จากรายงานของ ดร.อีริก ยานของเราก็สามารถสร้าง Warp Drive ได้แล้วทะยานด้วยความเร็วเหนือแสงในมิติของฟองอวกาศ จริง ๆ แล้วทฤษฎีควอนตัมนั้นเสนอว่าจักรวาลของเรามีอย่างน้อย 11 มิต แต่เราจะไม่พูดถึงในที่นี้ เอาเป็นว่าตอนนี้นักวิทยาศาสตร์สามารถคำนวณการเดินทางเร็วกว่าแสงได้ อย่างน้อยก็เป็นจริงในสมการตัวเลขที่นำไปพัฒนาต่อสู่ความเป็นจริงทางวิศวกรรม
แต่ผมคิดว่าน่าจะอีกอย่างน้อย 500++ ปี
Faster Than Light Speed Travel With Neil deGrasse Tyson