หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565

ค้นพบภูเขาไฟน้ำแข็งขนาดยักษ์บนดาวพลูโต ที่สามารถบ่งบอกถึงความเป็นไปได้ของชีวิต

ค้นพบภูเขาไฟน้ำแข็งขนาดยักษ์บนดาวพลูโต ที่สามารถบ่งบอกถึงความเป็นไปได้ของชีวิต

ค้นพบภูเขาไฟน้ำแข็ง สูงกว่าเทือกเขาแอนดีสบนดาวพลูโต ภูเขาบนดาวพลูโต อย่างน้อยก็หนึ่งจุดที่มีความสูงมากกว่าภูเขาใดๆ ที่อยู่บนโลก เรื่องนี้ได้รับการเปิดเผยโดยการวิเคราะห์ภาพที่ถ่ายได้จากยานนิวฮอไรซันส์ (New Horizons) ในปี 2015 ซึ่งเป็นการวิเคราะห์อีกครั้ง

จากการวิเคราะห์ครั้งใหม่ พวกเขาพบยอดเขาที่ดูไม่เหมือนที่อื่นในระบบสุริยะ และไม่สามารถอธิบายการก่อตัวขึ้นได้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามันไม่ได้เกิดจากหิน แต่กลับทำจากแอมโมเนียแช่แข็ง ไนโตรเจน มีเทนและน้ำแข็ง อย่างไรก็ตามต้นกำเนิดที่แท้จริงของพวกมันยังเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก

ดาวพลูโตมีขนาดเล็กมากและอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ ครั้งหนึ่งเคยเข้าใจว่าดาวดวงนี้ถูกแช่แข็งทั้งดวง อย่างไรก็ตามธรณีวิทยาที่ซับซ้อน ซึ่งสำรวจโดย ยานนิวฮอไรซันส์ ซึ่งรวมถึงไม่มีหลุมอุกกาบาตจากส่วนต่างๆ ของดาวเคราะห์แคระ บ่งชี้ว่ากิจกรรมทางธรณีวิทยาล่าสุดได้เปลี่ยนโฉมพื้นที่บางส่วน

ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ใช้เวลาเจ็ดปี เพื่อพยายามทำความเข้าใจกับภาพที่รวบรวมไว้ขณะที่ยานนิวฮอริซอนส์บินผ่าน และทำความเข้าใจกับพลังที่สร้างสิ่งที่เราเห็นในภาพ

ลักษณะที่ชัดเจนที่สุดของดาวพลูโตคือแกนกลางของมัน ซึ่งรู้จักกันในชื่อทางเทคนิคว่า “สปุตนิก พลานิเทีย (Sputnik Planitia)” ซึ่งเป็นแผ่นน้ำแข็งยาวประมาณ 1,050 กิโลเมตร (620 ไมล์) ขนาบข้างด้วยเนินเขาจำนวนมากและดูเหมือนจะมากขึ้น

การศึกษาโดยละเอียดที่อยู่ใน Nature Communications เปิดเผยว่า เนินที่ใหญ่ที่สุดอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ มันมีความสูง 7 กิโลเมตร (4.2 ไมล์) และกว้างประมาณ 225 กิโลเมตร (135 ไมล์) โดยยอดเขาที่ใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า Piccard Mons แต่ภาพที่ยานนิวฮอไรซันส์ ถ่ายมาได้เป็นช่วงเวลากลางคืน รายละเอียดจึงไม่ดีนัก บทความนี้จึงเน้นไปที่ Wright Mons ซึ่งเป็นยอดเขาที่เห็นก่อนพระอาทิตย์ตกดิน

Dr. Kelsi Singer และเพื่อนร่วมงาน สรุปว่าทั้งสองเป็นภูเขาไฟน้ำแข็ง แต่แทนที่จะก่อตัวขึ้นจากการปะทุครั้งใหญ่เพียงครั้งเดียว พวกมันอาจเป็นตัวแทนของการปะทุเล็กๆ จำนวนมากที่อยู่ใกล้กันกับภูเขาอื่นๆ

ผู้เขียนระบุว่าการสร้างภูมิประเทศแบบนี้ จะต้องมีจุดปะทุหลายแห่ง และต้องใช้วัสดุจำนวนมากเพื่อสร้างภูเขาไฟน้ำแข็งขนาดใหญ่ พวกเขาสังเกตว่าภูมิประเทศนี้ปราศจากหลุมอุกกาบาตซึ่งตรงกันข้ามกับพื้นที่อื่นๆ ของพื้นผิวดาวพลูโต

กิจกรรม Cryovolcanic ในพื้นที่นี้จะต้องค่อนข้างใหม่ในประวัติศาสตร์ของดาวพลูโต และอาจบ่งชี้ว่าโครงสร้างภายในของดาวพลูโตมีความร้อนตกค้างหรือความร้อนมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรม Cryovolcanic ดังกล่าว และทำให้เกิดภูเขาไฟน้ำแข็งนี้

Pluto has giant ice volcanoes that could hint at the possibility of life

 The spacecraft performed a flyby of the dwarf planet and its moons in July 2015, and the insights gathered then are still rewriting nearly everything scientists understand about Pluto.

 Pluto was relegated to dwarf planet status in 2006 when the International Astronomical Union created a new definition for planets, and Pluto didn't fit the criteria.

 The dwarf planet exists on the edge of our solar system in the Kuiper Belt, and it's the larger of the many frozen objects there orbiting far from the sun. The icy world, which has an average temperature of negative 387 degrees Fahrenheit (negative 232 degrees Celsius), is home to mountains, valleys, glaciers, plains and craters. If you were to stand on the surface, you would see blue skies with red snow.