หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2565

หินอวกาศปริศนาช่วยโลกยุคบรรพกาลเย็นตัวลงรวดเร็ว ไม่กี่ร้อยล้านปีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้

หินอวกาศปริศนาช่วยโลกยุคบรรพกาลเย็นตัวลงรวดเร็ว ไม่กี่ร้อยล้านปีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้

ภาพจำลองหินอวกาศกับโลกที่ยังร้อนแดงเหมือนนรก ในช่วงบรมยุคเฮเดียนกว่า 4,000 ล้านปีก่อน

จนกระทั่งทุกวันนี้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่า เหตุใดโลกของเราที่ถือกำเนิดขึ้นเป็นลูกไฟร้อนแดงขนาดยักษ์เมื่อ 4,500 ล้านปีก่อน สามารถเย็นตัวลงได้อย่างรวดเร็วเกินคาด โดยใช้เวลาเพียง 200-300 ล้านปี พลิกโฉมจากดาวเคราะห์เกิดใหม่ที่ร้อนเหมือนนรก กลายมาเป็นดาวที่มีมหาสมุทรและมีอุณหภูมิเหมาะสมต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต

👉🏿ดร. โคเรนางะ กล่าวเสริมว่า "หินที่แปลกประหลาดก้อนนี้ เมื่อได้สัมผัสกับน้ำทะเลในเวลาต่อมา ยังสามารถผลิตไฮโดรเจนปริมาณมหาศาล ซึ่งไฮโดรเจนนับเป็นสารตั้งต้นสำคัญในการให้กำเนิดโมเลกุลชีวภาพ"

แต่เดิมนั้นนักวิทยาศาสตร์มีสมมติฐานที่อาจเป็นคำตอบในเรื่องนี้อยู่ว่า โลกในช่วงบรมยุคเฮเดียน (Hadean Eon) หรือเมื่อแรกเกิดกว่า 4,000 ล้านปีก่อน ได้เกิดสูญเสียคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศปริมาณมากไปในเหตุการณ์หนึ่ง ทำให้อุณหภูมิลดลงและไอน้ำร้อนก็ควบแน่น กลายเป็นฝนที่ตกลงมาเติมเต็มมหาสมุทรบนโลก

อย่างไรก็ตาม เราไม่อาจหาหลักฐานชั้นต้นมาพิสูจน์ความถูกต้องของสมมติฐานนี้ได้โดยตรง เนื่องจากหลักฐานทางธรณีวิทยาในยุคนั้นได้แปรสภาพและจมหายลึกลงไปใต้พื้นโลกจนหมดสิ้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื้อสายญี่ปุ่น 2 คน จากมหาวิทยาลัยเยลและสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนียหรือ "แคลเทค" ของสหรัฐฯ คิดจะใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์มาตรวจสอบสมมติฐานดังกล่าวแทน

รายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature ระบุว่า ดร.โยชิโนริ มิยาซากิ และดร. จุน โคเรนางะ ได้ป้อนข้อมูลด้านธรณีเคมีและฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักฐานแวดล้อมที่อธิบายถึงกระบวนการก่อตัวของโลกลงในแบบจำลองคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบว่าในสถานการณ์ใดบ้างที่โลกจะสามารถเย็นตัวได้อย่างรวดเร็ว

ผลปรากฏว่าแบบจำลองคอมพิวเตอร์ได้ทำนายถึงบทบาทของ "หินอวกาศ" ก้อนหนึ่ง ที่อาจจะพุ่งชนโลกในยุคก่อกำเนิด โดยหินก้อนยักษ์นี้ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนเกินปริมาณมหาศาล ก่อนจะจมลงไปในเนื้อโลก

โลกในยุคเริ่มแรกมีความร้อนสูงจนสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ไม่ได้ คล้ายกับดาวศุกร์ในทุกวันนี้

ดร. มิยาซากิกล่าวว่า "มีความเป็นไปได้สูงที่หินนี้จะมีแร่ธาตุซึ่งเรียกว่า Pyroxene เป็นส่วนประกอบที่ผสมอยู่อย่างหนาแน่น ทั้งยังมีแมกนีเซียมปะปนอยู่มากจนกลายเป็นสีเขียวเข้มอีกด้วย"

"แร่ธาตุในหินอวกาศก้อนนี้ เมื่อได้สัมผัสกับหินหนืดหลอมละลายหรือแมกมาบนผิวโลก จะทำปฏิกิริยาดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ก่อนจะจมลงไปด้านล่างในชั้นเนื้อโลก ปฏิกิริยานี้ยังทำให้มีแผ่นเปลือกโลกเกิดขึ้นและแร่ธาตุต่าง ๆ คายน้ำออกมา จนสะสมรวมกันเป็นมหาสมุทรได้"

ดร. โคเรนางะ กล่าวเสริมว่า "หินที่แปลกประหลาดก้อนนี้ เมื่อได้สัมผัสกับน้ำทะเลในเวลาต่อมา ยังสามารถผลิตไฮโดรเจนปริมาณมหาศาล ซึ่งไฮโดรเจนนับเป็นสารตั้งต้นสำคัญในการให้กำเนิดโมเลกุลชีวภาพ"


แม้จะยังไม่พบหลักฐานชั้นต้นที่เป็นรูปธรรมซึ่งสามารถยืนยันความถูกต้องของสมมติฐานนี้ได้ แต่การค้นพบทางทฤษฎีในครั้งนี้ก็ช่วยเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกำเนิดโลก รวมทั้งปูทางไปสู่การศึกษาค้นคว้าประเด็นนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

The Entire History of the Universe in 8 Minutes