Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ฟินแลนด์ค้นพบ แสงเหนือประเภทใหม่


ค้นหา
🙆 สถาบันอุตุนิยมวิทยาฟินแลนด์สังกัดมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิระบุว่าชาวฟินแลนด์ที่ชอบดูแสงเหนือเป็นงานอดิเรกคนหนึ่งได้ค้นพบแสงเหนือรูปแบบใหม่ ร่วมกับกลุ่มนักวิจัยอวกาศ โดยพวกเขาได้ตั้งชื่อให้มันว่า 
“แสงเหนือสันทราย” (dunes)

แสงเหนือประเภทใหม่นี้ถูกพบเป็นครั้งแรกในปี 2018 โดยชาวฟินแลนด์คนดังกล่าวที่ทำงานร่วมกับสถาบันอุตุนิยมวิทยาฟินแลนด์เป็นผู้บันทึกภาพไว้ พวกเขาตั้งชื่อให้มันว่า “สันทราย” เนื่องจากแสงเหนือที่พวกเขาพบมีลักษณะคล้ายคลึงกับสันทรายตามชายหาด แสงเหนือสันทรายนี้มีสีเขียว โดยภายหลังกล้องตรวจการณ์ได้จับภาพปรากฎการณ์แสงเหนือสันทรายนี้ได้หลายครั้ง

สถาบันฯ คาดว่าแสงเหนือประเภทนี้เกิดจากคลื่นอะตอมออกซิเจนที่ความสูงราว 100 กิโลเมตร และเมื่อแสงอาทิตย์ส่องผ่านก็ทำให้อนุภาคเหล่านี้เรืองแสง จนเกิดเป็นแสงเหนือขึ้น

งานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ ระบุว่าต้นกำเนิดของแสงเหนือสันทรายเกิดจาก “ช่องทางคลื่น” (wave channel) ที่เกิดขึ้นในมีโซสเฟียร์ หรือชั้นบรรยากาศโลกชั้นที่ 3 โดยเกิดในชั้นมีโซพอส (mesopause) ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างระหว่างชั้นมีโซสเฟียร์และเทอร์โมสเฟียร์

งานวิจัยได้เสนอว่าแสงเหนือประเภทนี้อาจทำให้มนุษย์สามารถศึกษาสภาพแวดล้อมของชั้นบรรยากาศชั้นบนในมุมมองใหม่ได้

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (29 ม.ค.) มินนา พาล์มรอธ (Minna Palmroth) ศาสตรจารย์มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิอธิบายผลของการวิจัยว่าแสงเหนือสันทรายนี้เป็น “การค้นพบที่น่าประหลาดใจ” และชี้ให้เห็นถึงกลไกความสัมพันธ์ระหว่างชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์และเมโซสเฟียร์ที่มนุษย์ไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อน
พาล์มรอธได้ระบุในแถลงการณ์ของมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิว่าบริเวณ 80-120 กิโลเมตรเหนือพื้นโลกนั้น เป็นหนึ่งใน “พื้นที่บนโลกที่มีการสำรวจน้อยที่สุด” เนื่องจากสภาพแวดล้อมในชั้นบรรยากาศดังกล่าวไม่เอื้อต่อการทำงานของเครื่องตรวจวัด

รายการบล็อกของฉัน