Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564

ปริศนาแมงมุมดำบนดาวอังคาร


ปริศนาแมงมุมดำบนดาวอังคาร
หลังจากสำรวจและศึกษาดวงดาวทั้งหลายมาอย่างยาวนาน เราก็ยังไม่พบสิ่งมีชีวิตนอกโลกเลยแม้แต่ตัวเดียว แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งที่นักดาราศาสตร์ได้พบจุดดำประหลาดคล้ายกับกองทัพแมงมุมอยู่บนดาวอังคาร ซึ่งจุดดำเหล่านี้มันผุดขึ้นมาในช่วงฤดูใบไม้ผลิของทุกปี แล้วหายตัวไปในเวลาต่อมาอย่างน่าประหลาด จะเป็นไปได้หรือไม่ว่ามันจะเป็นแมงมุมดำที่จำศีลในฤดูหนาวและโผล่ออกมาตอนฤดูใบไม้ผลิ!?

กองทัพจุดดำเหล่านี้ปรากฏขึ้นที่ขั้วใต้ของดาวอังคาร ซึ่งแต่ละจุดมีความยาวมากถึง 15-50 เมตร กระจายตัวกันอยู่ทั่วบริเวณ และเมื่อลองนับเวลาดูก็พบว่าพวกมันจะอยู่ในบริเวณนั้นนานเกือบ 3-4 เดือนก่อนจะหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย และพอปีถัดมาก็กลับมาอยู่ในตำแหน่งเดิมๆ อีกเหมือนกับเป็นแมงมุมที่จำศีลอยู่แถวนั้น

แต่เมื่อศึกษาอย่างละเอียดด้วยภาพถ่ายทั้งแบบแสงขาวและภาพรังสีอินฟราเรดจากกล้องเทมีส (Thermal Emission Imaging System – THEMIS) บนยานมารส์โอดิสซีย์ (Mars Odyssey) 

นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านดาวอังคาร จากมหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต (Arizona State University) กลับพบว่าจุดดำเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งมีชีวิตแต่เป็นรอยแตกร้าวจนดูคล้ายกับขาของแมงมุม
ต่างหาก

สาเหตุของรอยแตกนี้เกิดจากชั้นน้ำแข็งบางๆ ที่ปกคลุมอยู่บนพื้นผิวดาวอังคาร เนื่องจากในฤดูหนาว ดาวอังคารจะมีอุณหภูมิลดต่ำลงถึง 1-130 องศาเซลเซียส แล้วพอเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ อากาศจะเริ่มอุ่นขึ้น ทำให้น้ำแข็งเกิดการระเหิดจนชั้นน้ำแข็งบางลง ความดันของแก๊สใต้พื้นดินจึงพุ่งสวนขึ้นมาได้ด้วยความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเกิดเป็นรอยแตกรูปแมงมุมขึ้นอย่างที่เราเห็นกันอยู่นี้

รอยแตกเหล่านี้สามารถกินเวลาได้นานกว่า 100 วันกว่าจะหายไป และในปีต่อๆ ไปมันก็จะเกิดซ้ำที่จุดเดิมอีก เนื่องจากบริเวณนั้นเป็นจุดอ่อนที่แก๊สสามารถพุ่งย้อนกลับขึ้นมาได้ ทำให้มันเกิดจุดสีดำในบริเวณเดิมซ้ำๆ ทุกปีในช่วงฤดูใบไม้ผลิ

น่าเสียดายที่สุดท้ายแล้วกองทัพจุดสีดำเหล่านั้นก็ไม่ใช่แมงมุมอย่างที่หลายคนเข้าใจ (หรือบางคนอาจจะโล่งใจมากกว่า เพราะถ้าหากมีกองทัพแมงมุมอยู่บนดาวอังคารจริงๆ คงจะสยองพิลึก…) 
แต่ความหวังที่จะเจอสิ่งมีชีวิตต่างดาวก็ยังคงไม่หมดลงเท่านี้ เพียงแค่พวกเรายังต้องค้นหากันต่อไปเท่านั้น

รายการบล็อกของฉัน