Carl Sagan ร่วมมือกับเพื่อนนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ Ed Salpeter เพื่อออกแบบชีวิตที่จะสามารถวิวัฒนาการอยู่รอดได้ในกลุ่มเมฆของดาวพฤหัสบดี อย่างเช่น "floaters" ที่คล้ายกับแมงกะพรุนเหล่านี้
ซึ่งนำเสนอในรายการ Cosmos: Possible Worlds ทาง National Geographic Channel ภาพโดย: Cosmos Studios ในช่วงปีระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 นักวิทยาศาสตร์เคยได้คำนวณเงื่อนไขต่างๆสำหรับจุลินทรีย์ที่สามารถอยู่รอดได้ในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี ชั้นบรรยากาศของดาวแก๊สยักษ์แห่งนี้ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยไฮโดรเจน มีเทน แอมโมเนีย และน้ำ ซึ่งได้รับความร้อนจากความอลหม่านของอากาศและฟ้าผ่า สำหรับความเป็นไปได้ของชีวิตที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีถูกเสนอขึ้นในปี ค.ศ. 1976 โดยนักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ ‘คาร์ล เซแกน’ (Carl Sagan) และนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ ‘เอ็ดวิน ซอลพีเทอร์’ (Edwin Salpeter) ภายหลังจากที่ยานไพโอเนียร์ 10 บินเฉียดผ่านดาวพฤหัสบดีไปในปี ค.ศ. 1973 เขาเปรียบเทียบนิเวศวิทยาของดาวเคราะห์แก๊สกับมหาสมุทรบนโลกของเรา แม้จะมีสภาพที่แตกต่างกัน แต่ก็มีลักษณะบางอย่างที่คล้ายกัน สำหรับในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยแอมโมเนียก็อาจไม่ใช่ปัญหาสำหรับชีวิต จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นพบว่าจุลินทรีย์บางชนิดสามารถอยู่รอดในชั้นบรรยากาศที่อุดมไปด้วยแอมโมเนียได้ ถึงขั้นที่ คาร์ล เซแกน เขียนชื่อไว้ในรายการคอสมอสของเขาว่า “ชีวิตบนดาวพฤหัสบดี”
ที่มีแผนจะส่งยานอวกาศหุ่นยนต์ไปสำรวจระบบดาวพฤหัสบดี โดยจะมุ่งเน้นไปที่ ดวงจันทร์ยูโรปา และ แกนีมีด ซึ่งหวังว่าเราจะได้พบกับเรื่องที่น่าตื่นเต้นตามมาหลังจากนั้น