หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ดาวเคราะห์ดวงใหม่สุดแปลกมีดาวฤกษ์ 3 ดวงทำให้กลางวันยาวนาน 140 ปีเมื่อเทียบกับโลกของมนุษย์


 วันนี้ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ทีมวิจัยนำโดยนักดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแอริโซนา รายงานในวารสาร Science ว่า ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ มีมวลมากกว่าดาวพฤหัสบดี 4 เท่า ตั้งชื่อว่า เอชดี 131399 เอบี


โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงที่สุกสว่างที่สุดในจำนวน 3 ดวงของระบบสุริยะ รายงานข่าวระบุว่า คนทั่วไปเคยฮือฮากับดาวเคราะห์ ทาทูอีน ในภาพยนตร์เรื่องสตาร์วอร์ส ที่มีดวงอาทิตย์ 2 ดวงอยู่เหนือขอบฟ้า แต่ถ้าใครไปอยู่บนดาวเคราะห์ดวงที่เพิ่งค้นพบนี้ ก็จะได้เห็นดวงอาทิตย์ 3 ดวง นักดาราศาสตร์บอกว่าระบบดาวสามดวงนับเป็นของหายาก ทีมวิจัย ระบุว่า บนดาวเคราะห์ เอชดี 131399 เอบี


ในบางฤดูกาลจะมีแต่เวลากลางวัน บางฤดูกาลมีพระอาทิตย์ขึ้นและตกพร้อมกัน 3 ดวง โดยฤดูกาลบนดาวเคราะห์ดวงนี้ยาวนานกว่าอายุขัยของมนุษย์ ด้าน เควิน วากเนอร์ นักศึกษาปริญญาเอกชั้นปีที่หนึ่ง หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า ราวครึ่งหนึ่งของเส้นทางโคจรของดาวเคราะห์ดวงนี้ 

ซึ่งกินเวลาเท่ากับ 550 ปีบนโลกของเรา ปรากฏดวงอาทิตย์ 3 ดวงบนท้องฟ้าสองดวงที่สลัวกว่าจะอยู่ใกล้กัน โดยราวหนึ่งในสี่ของคาบการโคจร หรือประมาณ 140 ปีบนโลกของเรา ท้องฟ้าจะเป็นเวลากลางวันเพราะเมื่อตะวันดวงหนึ่งลับอีกดวงก็โผล่ 


ทั้งนี้ ดาวเคราะห์ดังกล่าวอยู่ในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า ห่างจากโลก 340 ปีแสง มีอายุราว 16 ล้านปี นับเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะของเราที่มีอายุน้อยที่สุดดวงหนึ่งเท่าที่เคยพบ สำหรับเครื่องมือที่ค้นพบดาวเคราะห์ดวงนี้ คือ สเฟียร์ 

 ซึ่งเป็นอุปกรณ์ของกล้องดูดาว วีแอลที ขององค์การอวกาศยุโรป ตั้งอยู่ในประเทศชิลี