ต้องถือเป็นเรื่องสุดฮือฮาสำหรับชาวโลก เมื่อนักดาราศาสตร์ประจำสถาบันกล้องโทรทรรศน์อวกาศ ’สปิตเซอร์’ ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) ได้มีการแถลงข่าวการค้นพบกลุ่มดาวเคราะห์ใกล้โลก
ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับโลกมนุษย์ของเรา จำนวน อย่างน้อยถึง 7 ดวง โคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ดวงเดียวกัน และอยู่ห่างจากโลกเพียงแค่ 40 ปีแสง หรือประมาณ 378 ล้านล้านกิโลเมตรเท่านั้น
การค้นพบดาวเคราะห์ 7 ดวงโคจรรอบดาวฤกษ์ดวงเดียวกันครั้งนี้ ถูกนำมาเปิดเผยลงในวารสารธรรมชาติ (Nature Journal)
ขณะที่ ทีมนักดาราศาสตร์ได้เปิดแถลงข่าวที่สำนักงานใหญ่ของนาซาในกรุงวอชิงตัน ดีซี ในวันเดียวกัน เมื่อ 22 ก.พ.ที่ผ่านมา จนถือเป็นเรื่องตื่นเต้นสุดๆ ระดับ ‘ซุปเปอร์ เอ็กซ์ไซต์’ (Super Exite) ของบรรดานักดาราศาสตร์ทั่วโลกอย่างยิ่ง
ไมเคิล กิลลอน อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย Liege ในเบลเยียม และนักดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้เขียนบทความคนสำคัญในการค้นพบครั้งนี้ลงใน วารสารธรรมชาติ กล่าวด้วยความตื่นเต้นว่า การค้นพบกลุ่มดาวเคราะห์ ที่มีลักษณะคล้ายโลกโคจรรอบดาวฤกษ์ ที่ส่องแสงสุกสว่างดวงเดียวกันแบบนี้ ถือเป็นการพบครั้งแรกเลยทีเดียว!!
**เผยที่มาวิธีค้นพบ
ใช้กล้องโทรทรรศน์ แทรพพิสต์
ใช้กล้องโทรทรรศน์ แทรพพิสต์
ทีมนักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ TRAPPIST หรือ แทรพพิสต์ (Transiting Planets and Planeteslmals Small Telescope)
ที่ติดตั้งอยู่ในประเทศชิลี ในการสังเกตแสงดาว รวมถึงความสว่างของดาวที่เปลี่ยนแปลงไป และนักดาราศาสตร์ได้พบดาวเคราะห์ 2 ดวงแรกในกลุ่มดาวเคราะห์นี้ ในเดือนพฤษภาคม ปี ที่แล้ว
ที่ติดตั้งอยู่ในประเทศชิลี ในการสังเกตแสงดาว รวมถึงความสว่างของดาวที่เปลี่ยนแปลงไป และนักดาราศาสตร์ได้พบดาวเคราะห์ 2 ดวงแรกในกลุ่มดาวเคราะห์นี้ ในเดือนพฤษภาคม ปี ที่แล้ว
การค้นพบนี้ เริ่มจาก นักดาราศาสตร์สังเกตเห็นเงาเล็กน้อย มีลักษณะเหมือนการเกิด ‘คราส’ หรือเงาบนดาวเคราะห์ (การเกิดคราส นั้น เกิดจากดาวเคราะห์โคจรเข้ามาอยู่ในแนวเดียวกัน จนบังแสงจากดาวฤกษ์ไว้ทำให้เกิดเงามืด)
จากนั้น ทีมนักดาราศาสตร์ได้เฝ้าสังเกตเพิ่มเติม และยืนยันว่าเป็นการเกิดคราสบนดาวเคราะห์
จากนั้น ทีมนักดาราศาสตร์ได้เฝ้าสังเกตเพิ่มเติม และยืนยันว่าเป็นการเกิดคราสบนดาวเคราะห์
ต่อมา ในเดือนกรกฎาคม 2559
นักดาราศาสตร์สามารถบ่งชี้ว่า
ดาวเคราะห์ที่ใกล้กันที่สุด 2 ดวงนี้ เป็นดาวที่มีชั้นบรรยากาศ
ซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่า และมีความคล้ายคลึงกับโลกของเรา รวมทั้งดาวศุกร์ และดาวอังคาร
นักดาราศาสตร์สามารถบ่งชี้ว่า
ดาวเคราะห์ที่ใกล้กันที่สุด 2 ดวงนี้ เป็นดาวที่มีชั้นบรรยากาศ
ซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่า และมีความคล้ายคลึงกับโลกของเรา รวมทั้งดาวศุกร์ และดาวอังคาร
ไม่หยุดเพียงเท่านี้ เครือข่ายของนักดาราศาสตร์ทั่วโลก
ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีคุณสมบัติ
เหมือนกล้องแทรพพิสต์
และเหมือนกล้องสปิตเซอร์ศึกษาเฝ้าดูไปยังบริเวณดาวเคราะห์ทั้งสองดวงด้วยความสนใจ จากนั้นจึงได้พบดาวเคราะห์อีกถึง 5 ดวง
โดยจากการศึกษา สามารถกำหนดระยะเวลาในการโคจรของดาวเคราะห์เหล่านี้ที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลก, ระยะห่างของดาวเคราะห์, รัศมีของดาว และมวลของดาวเคราะห์
ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีคุณสมบัติ
เหมือนกล้องแทรพพิสต์
และเหมือนกล้องสปิตเซอร์ศึกษาเฝ้าดูไปยังบริเวณดาวเคราะห์ทั้งสองดวงด้วยความสนใจ จากนั้นจึงได้พบดาวเคราะห์อีกถึง 5 ดวง
โดยจากการศึกษา สามารถกำหนดระยะเวลาในการโคจรของดาวเคราะห์เหล่านี้ที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลก, ระยะห่างของดาวเคราะห์, รัศมีของดาว และมวลของดาวเคราะห์
** สุดมหัศจรรย์.. เจอระบบ
‘แทรพพิสต์-วัน’
‘แทรพพิสต์-วัน’
ต่อแต่นี้ พวกเราคงจะได้ยินคำว่า ระบบแทรพพิตส์-วัน กันบ่อยขึ้น หลังจากนักดาราศาสตร์ประจำสถาบันกล้องโทรทรรศน์อวกาศ ’สปิตเซอร์’
ได้พบดาวเคราะห์อย่างน้อย 7 ดวง ซึ่งบางทีอาจเป็นดาวเคราะห์หิน โคจรรอบดาวแคระขาว (ultracool dwarf star) ดวงเดียวกันหรือให้เข้าใจง่ายมากขึ้น ดาวแคระขาวก็คือดวงอาทิตย์ขนาดเล็ก โดยตั้งชื่อให้ว่า ‘แทรพพิสต์-วัน’ (Trappist-1) ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกระบบที่คล้ายคลึงกับระบบสุริยะของเราระบบนี้ว่า ระบบ ‘แทรพพิสต์-วัน’
ได้พบดาวเคราะห์อย่างน้อย 7 ดวง ซึ่งบางทีอาจเป็นดาวเคราะห์หิน โคจรรอบดาวแคระขาว (ultracool dwarf star) ดวงเดียวกันหรือให้เข้าใจง่ายมากขึ้น ดาวแคระขาวก็คือดวงอาทิตย์ขนาดเล็ก โดยตั้งชื่อให้ว่า ‘แทรพพิสต์-วัน’ (Trappist-1) ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกระบบที่คล้ายคลึงกับระบบสุริยะของเราระบบนี้ว่า ระบบ ‘แทรพพิสต์-วัน’
**ดาวเคราะห์ 3 ใน 7 ดวง
อาจมีมหาสมุทร!!
อาจมีมหาสมุทร!!
การศึกษาค้นคว้า ทำให้นักดาราศาสตร์ยังคาดว่า บนดาวเคราะห์ทั้ง 7 ดวง อาจมีน้ำในลักษณะของเหลว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต ภายใต้อุณหภูมิที่เหมาะสม และมีโอกาสที่ดาวเคราะห์ 3 ใน 7 ดวง
คือ Trappist-1e, f และ g อาจมีน้ำ หรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ถึงขนาด มหาสมุทร อยู่บนผิวดาวเคราะห์มากที่สุดด้วย
คือ Trappist-1e, f และ g อาจมีน้ำ หรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ถึงขนาด มหาสมุทร อยู่บนผิวดาวเคราะห์มากที่สุดด้วย
โดยเฉพาะ Trappist-1f
นักดาราศาสตร์เชื่อว่า เป็นดาวเคราะห์ที่มีสภาพเหมาะสมที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตมากที่สุด เนื่องจากมีอุณหภูมิเย็นกว่าโลก แต่ก็มีบรรยากาศที่เหมาะสม และก๊าซเรือนกระจกที่พอเพียง
นักดาราศาสตร์เชื่อว่า เป็นดาวเคราะห์ที่มีสภาพเหมาะสมที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตมากที่สุด เนื่องจากมีอุณหภูมิเย็นกว่าโลก แต่ก็มีบรรยากาศที่เหมาะสม และก๊าซเรือนกระจกที่พอเพียง
**อีก 10 ปีนี้ เราอาจได้รู้ว่า มี มนุษย์ต่างดาวที่แทรพพิสต์-วันหรือไม?
‘ที่นี่ พวกเรามีเป้าหมายที่ถูกต้องในการเริ่มค้นหาสิ่งมีชีวิต’
Dr.Amaury Triaud นักดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในอังกฤษ ซึ่งร่วมในการเขียนบทความการค้นพบระบบแทรพพิสต์-วัน กล่าวด้วยความตื่นเต้นและความหวัง พร้อมกับพูดว่า ‘ภายใน 10ปีข้างหน้านี้ พวกเราอาจจะได้รู้ว่า พวกเราอยู่เพียงลำพังในจักรวาลนี้หรือไม่ ซึ่งมันเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อมากเลยทีเดียว’
Dr.Amaury Triaud นักดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในอังกฤษ ซึ่งร่วมในการเขียนบทความการค้นพบระบบแทรพพิสต์-วัน กล่าวด้วยความตื่นเต้นและความหวัง พร้อมกับพูดว่า ‘ภายใน 10ปีข้างหน้านี้ พวกเราอาจจะได้รู้ว่า พวกเราอยู่เพียงลำพังในจักรวาลนี้หรือไม่ ซึ่งมันเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อมากเลยทีเดียว’
Dr.Amaury Triaud ยังกล่าวด้วยว่า พวกเราได้ไปสู่ก้าวสำคัญในการค้นหาสิ่งมีชีวิต ที่ระบบแทรพพิสต์-วัน เพราะที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ยังไม่เคยพบระบบของกลุ่มดาวเคราะห์ ที่มีขนาดเท่ากับโลกเช่นนี้มาก่อนเลย
**ช่วยตอบคำถามคาใจ ‘พวกเราอยู่ลำพังในจักรวาลนี้หรือไม่’
ด้านโธมัส เซอร์บูเชน ผู้ร่วมบริหารโครงการนี้ของนาซา กล่าวว่า การค้นพบนี้ อาจเป็นจิ๊กซอว์สำคัญในการค้นพบสิ่งแวดล้อมที่เหมาะกับการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต สถานที่สำหรับสิ่งมีชีวิต และยังเป็นการตอบคำถามว่า พวกเราอยู่ลำพังหรือไม่?
ซึ่งเรื่องนี้เป็นหัวข้อสำคัญทางวิทยาศาสตร์มาช้านาน และการพบดาวเคราะห์จำนวนมากโคจรรอบดาวดวงเดียวกันเช่นนี้ ใน habitatable Zone เป็นครั้งแรก ถือเป็นก้าวสำคัญในการก้าวไปสู่เป้าหมาย เพื่อไขปริศนาของคำตอบว่า พวกเราอยู่ลำพังในจักรวาลนี้หรือไม่
ซึ่งเรื่องนี้เป็นหัวข้อสำคัญทางวิทยาศาสตร์มาช้านาน และการพบดาวเคราะห์จำนวนมากโคจรรอบดาวดวงเดียวกันเช่นนี้ ใน habitatable Zone เป็นครั้งแรก ถือเป็นก้าวสำคัญในการก้าวไปสู่เป้าหมาย เพื่อไขปริศนาของคำตอบว่า พวกเราอยู่ลำพังในจักรวาลนี้หรือไม่
ขณะที่ ศาสตราจารย์ซารา ซีเกอร์ ศาสตราจารย์ด้านดาวเคราะห์และฟิสิกส์ แห่งสถาบันเทคโนโลยี แมสซาชูเสตต์ ในสหรัฐฯ กล่าวว่า การศึกษาที่ผ่านๆ มา พวกเราเคยค้นพบดาวเคราะห์มามากมายหลายดวง แต่เป็นการพบดาวเคราะห์ที่อยู่ลำพังดวงเดียว
ด้วยเหตุนี้ การค้นพบระบบแทรพพิสต์-วัน จึงทำให้ ทั้ง ศาสตราจารย์ซีเกอร์ และนักดาราศาสตร์ทั่วโลกเกิดความรู้สึก ตื่นเต้น ช็อก เป็นเรื่องเหลือเชื่อ แสนจะมหัศจรรย์... เพราะจะนำไปสู่คำตอบที่นักวิทยาศาสตร์รอคอยว่า เราอยู่ลำพังในจักรวาลนี้หรือไม่
👉ซึ่งบางทีอีกไม่นานเกินรอ ภายใน 10 ปีนี้ เราอาจจะได้รู้กันว่า มี มนุษย์ต่างดาว บนดาวเคราะห์ดวงใดดวงหนึ่งใน ระบบแทรพพิสต์ -วัน หรือไม่
👉ซึ่งบางทีอีกไม่นานเกินรอ ภายใน 10 ปีนี้ เราอาจจะได้รู้กันว่า มี มนุษย์ต่างดาว บนดาวเคราะห์ดวงใดดวงหนึ่งใน ระบบแทรพพิสต์ -วัน หรือไม่
Trappist-1