Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561

พบสัญญาณชี้อาจเจอดวงจันทร์นอกระบบสุริยะ

พบสัญญาณชี้อาจเจอดวงจันทร์นอกระบบสุริยะ
(ภาพจากฝีมือศิลปิน) ที่ใดมีดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ที่นั่นก็น่าจะมีดวงจันทร์นอกระบบสุริยะเช่นกัน
ทีมนักดาราศาสตร์อเมริกันเผยพบสัญญาณจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ ซึ่งชี้ถึงความเป็นไปได้สูงในการค้นพบ "เอ็กโซมูน" (Exomoon) หรือดวงจันทร์บริวารที่โคจรรอบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงแรก

มีการเผยแพร่รายละเอียดการค้นพบดังกล่าว
ในคลังเอกสารวิชาการออนไลน์ arXiv.org โดยระบุว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ตรวจพบปรากฎการณ์ทรานซิต (Transit) หรือการที่ดาวเคราะห์เคลื่อนผ่านหน้าดาวฤกษ์จนทำให้ระดับการส่องสว่างของดาวฤกษ์ลดลงชั่วคราว ที่บริเวณดาวฤกษ์ดวงหนึ่งซึ่งอยู่ห่างจากโลก 4,000 ปีแสง 

โดยสังเกตพบปรากฏการณ์ทรานซิต 3 ครั้ง ในแบบที่บ่งชี้ว่าดาวเคราะห์ซึ่งเคลื่อนผ่านดาวฤกษ์ดวงนั้นมีดวงจันทร์บริวารติดตามอยู่ด้วย
มีการตั้งชื่อวัตถุที่คาดว่าเป็นดวงจันทร์นอกระบบสุริยะ ซึ่งมนุษย์อาจค้นพบเป็นครั้งแรกนี้ว่า Kepler-1625b I ซึ่งน่าจะเป็นดวงจันทร์บริวารขนาดใหญ่พอกับดาวเนปจูน และโคจรรอบดาวเคราะห์ขนาดราวดาวพฤหัสบดีแต่มีมวลมากกว่ากัน 10 เท่า ซึ่งทำให้คาดได้ว่า Kepler-1625b I ไม่ได้ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับดาวเคราะห์ของตน แต่ถูกแรงดึงดูดทำให้เข้ามาเป็นดาวบริวารในภายหลัง
นักดาราศาสตร์จะติดตามสังเกตการณ์เอ็กโซมูนอีกครั้งด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในเดือนตุลาคมนี้
Exomoon
อย่างไรก็ตาม ดร. เดวิด คิปปิง จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียของสหรัฐฯ หนึ่งในทีมนักดาราศาสตร์ที่ติดตามค้นหาเอ็กโซมูนครั้งนี้บอกว่า ยังไม่สามารถแน่ใจได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เต็มว่าสิ่งที่สังเกตพบเป็นดวงจันทร์นอกระบบสุริยะจริงหรือไม่ จนกว่าจะมีการติดตามตรวจสอบอีกครั้งด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้
ก่อนหน้านี้ นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะหรือเอ็กโซแพลเน็ต (Exoplanet) มาแล้วถึงกว่า 3,000 ดวง แต่ยังไม่เคยมีการค้นพบดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์เหล่านี้มาก่อน ทั้งที่มีความเป็นไปได้สูงว่ามีอยู่ ซึ่งการค้นหาเอ็กโซมูนนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการค้นพบดาวเคราะห์ใหม่ๆ ที่มีสภาพเอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นด้วย

รายการบล็อกของฉัน