Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

พบ ดาวผีดิบ ที่แม้จะหมดอายุขัยไปแล้ว แต่ไม่ยอมตาย

😈พบ “ดาวผีดิบ” ที่แม้จะหมดอายุขัยไปแล้ว แต่ไม่ยอมตาย ยังคงระเบิดพลีชีพ
ครั้งแล้วครั้งเล่า!
วัตถุชื่อ iPTF14hls หรือ Zombie Star (ดาวฤกษ์ผีดิบ) มองเห็นได้ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ จัดเป็นซูเปอร์โนวาที่แปลกประหลาดในช่วงเวลา 3 ปี มันปะทุหลายครั้ง นับแต่ปี 1954 เป็นต้นมา มันระเบิดทำลายตัวเองมาแล้วประมาณ 2-5 ครั้ง ระเบิดพลีชีพครั้งแล้วครั้งเล่า หมดอายุขัยแล้วไม่ยอมตาย ฟื้นชีวิตหลายรอบในช่วงเวลา 60 ปี
“ซูเปอร์โนวาดวงนี้หักล้างทุกอย่างที่เราคิดว่าเรารู้ ถือเป็นปริศนาข้อใหญ่สุดที่เคยเจอนับแต่ศึกษาการระเบิดในจักรวาลมานานหนึ่งทศวรรษ” แอร์ อาร์คาวี นักศึกษาหลังปริญญาเอกที่หอสังเกตการณ์ลาคัมเบอร์ นักวิจัยร่วม บอกในรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร nature

ตามทฤษฎีทางดาราศาสตร์ในปัจจุบัน 
เมื่อดาวฤกษ์ที่มีมวลมากหมดอายุขัย มันจะระเบิดเป็นซูเปอร์โนวา หรือมหานวดารา ปิดฉากชีวิตในการระเบิดแค่ครั้งเดียว 

สำหรับดาวฤกษ์ซอมบีดวงนี้ นอกจากระเบิดมาแล้วหลายหน แต่ละครั้งยังปลดปล่อยพลังงานกินเวลานานกว่าซูเปอร์โนวาทั่วไปถึง 6 เท่าเลยทีเดียว วัตถุสว่างที่ว่านี้ พบเมื่อปี 2014 ต่อมาในปี 2015 นักดาราศาสตร์ระบุว่า มันคือมหานวดารา ตอนแรกวงวิชาการไม่เห็นว่ามันมีอะไรน่าสนใจ

แต่ก็ต้องเปลี่ยนความคิดเพราะโดยทั่วไป เมื่อดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ปลิดชีพตนเองเมื่อหมดอายุขัย มวลที่ยุบถล่มลงสู่ใจกลางจะจุดระเบิด ส่งมวลสารพุ่งกระจายรอบทิศทางด้วยความเร็วสูง มวลสารที่ขยายตัวปลดปล่อยพลังงานมหาศาล ทำให้มันสว่างเจิดจ้าอยู่นานประมาณ 4 เดือน ก่อนมืดลงแล้วดับไปในที่สุด
นักดาราศาสตร์ต่างประหลาดใจเมื่อพบว่า ซูเปอร์โนวาดวงนี้ไม่ยอมตาย มันส่องสว่างอยู่นานเกือบ 2 ปี แถมความสว่างไม่คงที่ด้วย บางเวลาสว่างมาก บางเวลาสว่างน้อย บ่งบอกว่ามันยังคงปะทุซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่เพียงแค่นั้น แทนที่จะค่อยๆเย็นลง วัตถุดังกล่าวมีอุณหภูมิแทบคงที่ในระดับ 5,700 องศาเซลเซียส 
ยังไม่หมด เมื่อค้นย้อนดูบันทึกเก่าๆ ยังพบด้วยว่า บนฟากฟ้าเคยเกิดการระเบิดในตำแหน่งเดียวกันนี้เมื่อปี 1954 แสดงว่า หลังการระเบิดเมื่อครั้งกระโน้น มันยังอยู่รอดต่อมาจนกระทั่งระเบิดอีกครั้งในปี 2014
Zombie Star 
แดเนียล เคเซน นักวิจัยร่วมจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กลีย์ เสนอคำอธิบายปรากฏการณ์นี้ ด้วยตัวแบบที่เรียกว่า Pulsational Pair Instability Supernova ตามข้อสันนิษฐานนี้ ดาวฤกษ์ดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงจัดจนกระทั่งเกิดปฏิสสาร อนุภาคอิเล็กตรอนกับปฏิอิเล็กตรอนจับคู่กันที่ใจกลาง ทำให้ดาวไร้เสถียรภาพเป็นห้วงๆ จึงเกิดการระเบิดอย่างต่อเนื่อง ก่อนยุบถล่มกลายเป็นหลุมดำในท้ายที่สุด.
อ้างอิง –  voi

รายการบล็อกของฉัน