Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2560

คาดดาวพลูโตมีมหาสมุทรคล้ายน้ำแข็งปั่นอยู่ใต้พื้นผิว

🔘คาดดาวพลูโตมีมหาสมุทรคล้าย 
"น้ำแข็งปั่น" อยู่ใต้พื้นผิว
นักวิทยาศาสตร์เผยพบหลักฐานที่ทำ
ให้คาดได้ว่า ใต้บริเวณที่ราบรูปหัวใจ
บนดาวพลูโตที่ชื่อ Sputnik Planitia อาจมีมหาสมุทรคล้าย "น้ำแข็งปั่น" ที่ประกอบไปด้วยก้อนไนโตรเจนเยือกแข็งและไนโตรเจนเหลวปนกันอยู่จำนวนมาก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีน้ำหนักถ่วงจนดึงให้ดาวพลูโตเอียงออกห่างจากแกนหมุนเดิมถึง 60 องศา

เจมส์ คีน นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแอริโซนาของสหรัฐฯ เผยแพร่ผลการศึกษาดังกล่าวลงในวารสารเนเจอร์ โดยระบุว่าได้นำข้อมูลมาจากรายงานการสำรวจของยานอวกาศนิว ฮอไรซันส์ ขององค์การนาซา ซึ่งได้เคลื่อนผ่านดาวพลูโตเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว โดยพบว่าดาวพลูโตจะหันหน้าด้านที่ราบ Sputnik Planitia เข้าหาดวงจันทร์คารอนซึ่งเป็นดาวบริวารอยู่เสมอ ทำให้คาดได้ว่าบริเวณดังกล่าวน่าจะมีมวลสารน้ำหนักมากอยู่สูงกว่าบริเวณอื่น ๆ ของดาวที่มีมวลสารเบาบาง จนทำให้เกิดแรงดึงดูดกับดาวบริวารในด้านดังกล่าว

มหาสมุทรคล้าย "น้ำแข็งปั่น" ใต้พื้นผิวดาวพลูโต อาจช่วยไขปริศนาที่ดาวหันหน้าด้านเดียวเข้าหาดวงจันทร์คารอนอยู่เสมอ

ก่อนหน้านี้เชื่อกันว่า ที่ราบรูปหัวใจ
Sputnik Planitia เกิดจากการที่ดาวพลูโตชนเข้ากับวัตถุจากอวกาศ ซึ่งที่จริงแล้วน่าจะทำให้เกิดการสูญเสียมวลสารของดาวไปมากกว่าจะมีน้ำหนักเพิ่ม แต่อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์ฟรานซิส นิมโม จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตซานตาครูซ เห็นว่าการชนของวัตถุจากอวกาศอาจทำให้ไนโตรเจนเยือกแข็งส่วนหนึ่งใต้พื้นผิวดาวละลายกลายเป็นของเหลว ซึ่งจะช่วยเพิ่มความหนาแน่นให้มหาสมุทร "น้ำแข็งปั่น" มีน้ำหนักมากขึ้น และใช้เวลานับล้านปีค่อย ๆเคลื่อนตัวจากจุดกำเนิดลงมาอยู่ที่บริเวณเส้นศูนย์สูตรของดาวในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม เจมส์ คีน หนึ่งในทีมนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ใต้พื้นผิวดาวพลูโตนั้นมีก๊าซในรูปของแข็ง เช่นไนโตรเจน มีเธน และคาร์บอนมอน็อกไซด์อยู่จำนวนมาก ซึ่งก๊าซเยือกแข็งเหล่านี้สามารถเคลื่อนตัวไปมาเหมือนธารน้ำแข็งบนโลกได้ นอกจากนี้ การที่ดาวพลูโตได้รับไนโตรเจนมาสะสมเพิ่มที่แกนกลางของดาวทุกรอบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ก็อาจมีส่วนทำให้เกิดก้อนไนโตรเจนแข็งที่มีความหนาหลายร้อยเมตรและมีน้ำหนักมากจนถ่วงดาวพลูโตให้เอียงไปด้านหนึ่งด้วย
ยานนิว ฮอไรซันส์ ของนาซา พบหลักฐานการเคลื่อนตัวของไนโตรเจนเยือกแข็งใต้พื้นผิวดาวพลูโต ซึ่งคล้ายกับธารน้ำแข็งบนโลก
ปัจจุบันดาวพลูโตถูกจัดให้เป็นดาวเคราะห์แคระและไม่ใช่ส่วนหนึ่งของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอีกต่อไป ส่วนยานสำรวจอวกาศนิว ฮอไรซันส์ ขององค์การนาซานั้น หลังเคลื่อนผ่านดาวพลูโตไปแล้ว ก็กำลังมุ่งหน้าไปยังส่วนหนึ่งของแถบไคเปอร์ที่เรียกว่า 2014 MU69 เป็นจุดหมายต่อไป โดยคาดว่าจะไปถึงในปี 2019

รายการบล็อกของฉัน