Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ดาวที่ลึกลับที่สุดแห่งกาแล็กซีทางช้างเผือก

ดาวที่ลึกลับที่สุดแห่งกาแล็กซี
ทางช้างเผือก
ภาพจากจินตนาการของศิลปินแสดงให้เห็นว่าความสว่างของดาว KIC 8462852 ลดลงถึง 22% เป็นช่วง ๆ
ดาวฤกษ์ KIC 8462852 หรือ "ดาวโบยาเจียน" (Boyajian's star) ได้รับการขนานนามให้เป็นดาวที่ลึกลับเป็นปริศนาที่สุดในกาแล็กซีทางช้างเผือก หรืออาจจะลึกลับที่สุดในจักรวาล เนื่องจากดาวมีความสว่างขึ้นและมืดมัวลงสลับกันเป็นช่วง ๆ แบบที่ไม่เหมือนกับดาวดวงใดซึ่งเคยค้นพบมาก่อน ทั้งยังมีผู้ตั้งสมมติฐานว่าปรากฎการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจากผลงานของสิ่งมีชีวิตต่างดาวหรือ "เอเลียน" ก็เป็นได้

ดาวโบยาเจียนอยู่ห่างจากโลกออกไปกว่า 1,200 ปีแสงในกลุ่มดาวหงส์ ซึ่งเป็นแถบที่สุกสว่างและสังเกตเห็นได้ง่ายที่สุดแถบหนึ่งของแขนดาราจักร
มีการรายงานถึงพฤติกรรมที่แปลกประหลาดของดาวดวงนี้ครั้งแรกเมื่อปลายปี 2015 โดยนักดาราศาสตร์สาว ทาเบธา โบยาเจียน ได้รับข้อมูลจากกลุ่มพลเมืองนักดาราศาสตร์มือสมัครเล่นว่า พบดาวที่มีความเปลี่ยนแปลงในระดับการส่องสว่างอย่างสูง ซึ่งเธอพบว่าในแต่ละครั้งดาวจะมืดมัวลงถึง 22% นับว่าไม่ธรรมดาเมื่อเทียบกับปรากฎการณ์คล้ายกันในระบบสุริยะ เช่นดาวพฤหัสบดีนั้นสามารถลดแสงสว่างของดวงอาทิตย์ลงขณะโคจรผ่านหน้าได้ แต่ก็เพียงราว 0.5% เท่านั้นพบชั้นบรรยากาศ บนดาวเคราะห์คล้ายโลก

พบระบบสุริยะใหม่ “แทรปปิสต์ – วัน” คาดมีน้ำ-เอื้อต่อสิ่งมีชีวิต
มีผู้เสนอคำอธิบายถึงความเปลี่ยนแปลงในระดับการส่องสว่างของดาวโบยาเจียน ไว้มากมายหลายแบบ ตั้งแต่ความเชื่อที่ว่ามีหลุมดำ ฝูงดาวหาง หรือกลุ่มเมฆฝุ่นละอองคอยโคจรบดบังอยู่เป็นระยะ ไปจนถึงสมมติฐานที่ว่ามีสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาสร้างเครื่องจักรขนาดใหญ่โคจรรอบดาวฤกษ์นั้นอยู่ เพื่อเก็บเกี่ยวพลังงานไปใช้ หรือเพื่อสร้างสัญญาณที่คล้ายกับรหัสมอร์สติดต่อสื่อสารกับสิ่งมีชีวิตอื่นในจักรวาล
คำอธิบายที่ว่าสิ่งมีชีวิตต่างดาวเป็นผู้สร้างปรากฎการณ์แปลกประหลาดของดาวโบยาเจียน ไม่ใช่แนวคิดที่เหลวไหลไร้เหตุผลเสียทีเดียวในกรณีนี้ 

เนื่องจากคำอธิบายแบบอื่น ๆ ต่างมีข้อขัดแย้งในตัวไปเสียหมด เช่นข้อสันนิษฐานที่ว่ามีกลุ่มฝุ่นละอองและก๊าซบดบังแสงดาวโบยาเจียนอยู่ก็ไม่น่าเป็นไปได้ เนื่องจากกรณีนี้มักพบได้บ่อยในดาวฤกษ์ที่เกิดใหม่ แต่ดาวโบยาเจียนนั้นเป็นดาวฤกษ์ที่มีอายุเรียกได้ว่าเข้าวัยกลางคนแล้ว นอกจากนี้ ยังไม่พบว่าดาวโบยาเจียนปลดปล่อยรังสีอินฟาเรดออกมาอีกด้วย ทั้งที่หากมีกลุ่มฝุ่นละอองและก๊าซลักษณะคล้ายจานแบนบดบังอยู่ จะต้องมีการสะสมความร้อนและปลดปล่อยรังสีอินฟาเรดออกมาแน่นอน

ในปี 2016 มีการรายงานความแปลกประหลาดของดาวโบยาเจียนเพิ่มเติมอีก โดยมีผู้พบว่านอกจากแสงสว่างของดาวจะมัวลงสลับกับสว่างขึ้นเป็นช่วง ๆ แล้ว ในระยะยาวแสงสว่างของดาวโบยาเจียนยังลดลงเรื่อย ๆ ด้วย โดยพบว่าดาวหม่นมัวลงถึง 15% ในช่วงเวลา 100 ปีที่ผ่านมา ทั้งเมื่อตรวจสอบกับข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์แล้ว ยังพบว่าดาวโบยาเจียนส่องสว่างลดลง 3% ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาอีกด้วย ซึ่งทำให้คำอธิบายที่ว่ามีฝูงดาวหางหรือกลุ่มฝุ่นก๊าซโคจรบดบังแสงอยู่เป็นระยะใช้ไม่ได้
ภาพจากจินตนาการของศิลปินแสดงให้เห็นดาว KIC 8462852 อยู่ด้านหลังของกลุ่มดาวหางที่แตกออกเป็นเสี่ยง ๆ
อย่างไรก็ตาม ไม่นานมานี้มีผู้เสนอสมมติฐานใหม่ ซึ่งอาจอธิบายปรากฎการณ์แปลกประหลาดทั้งหมดของดาวโบยาเจียนอย่างครอบคลุมได้ โดยนายไบรอัน เมตซ์เจอร์ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้เสนอแนวคิดนี้บอกว่า ปรากฎการณ์ของแสงดาวโบยาเจียนที่เปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ นั้น อาจมาจากการที่ดาวโบยาเจียนกำลัง "กลืนกิน" ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งอยู่ก็เป็นได้

นายเมตซ์เจอร์บอกว่า ดาวเคราะห์นี้อาจเคยเป็นบริวารของดาวโบยาเจียนเอง แต่ถูกแรงดึงดูดของดาวฤกษ์อีกดวงหนึ่งที่อยู่ใกล้เคียงทำให้วงโคจรผิดเพี้ยนไป และเริ่มเฉียดเข้าใกล้ดาวโบยาเจียนมากขึ้น จนพื้นผิวด้านนอกหรือดวงจันทร์ของดาวเคราะห์นั้นถูกดูดกลืนเข้าไป เหลือทิ้งไว้แต่แนวหางของฝุ่นละอองเป็นทางยาวที่ยังโคจรรอบดาวโบยาเจียนและบดบังแสงดาวเป็นระยะ
นอกจากนี้ การที่ดาวเคราะห์ทั้งดวงถูกดูดกลืนเข้าไป ทำให้ดาวโบยาเจียนส่องสว่างมากกว่าปกติได้ในระยะหนึ่ง ก่อนจะค่อย ๆ มีความสว่างลดลงมาอยู่ในระดับปกติตามเดิม ซึ่งอธิบายได้ว่าเหตุใดดาวโบยาเจียนจึงดูเหมือนว่ามีแสงสว่างลดลงในระยะยาวนับร้อยปีด้วย

"ที่จริงแล้วปรากฎการณ์นี้อาจไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดแต่อย่างใด และอาจพบได้บ่อยครั้งในจักรวาลมากกว่าที่เราคิด เพราะมีดาวฤกษ์อยู่นับแสนล้านดวงในกาแล็กซีทางช้างเผือกที่ยังไม่ถูกสังเกตการณ์โดยมนุษย์
นายเมตซ์เจอร์กล่าว

รายการบล็อกของฉัน