นาซาเผยภาพ พื้นผิวดาวพลูโตชัดสุดเท่าที่เคยมีมา
ยานอวกาศ นิว โฮไรซอน ขององค์การนาซา ส่งภาพถ่ายใหม่ของดาวเคราะห์แคระ พลูโต กลับมายังโลกแล้ว โดยเป็นแสดงให้เห็นพื้นผิวของดาวพลูโตที่คมชัดที่สุดเท่าที่เคยมีมา...
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) เผยแพร่ภาพถ่ายใหม่ของดาวเคราะห์แคระพลูโต ซึ่งถ่ายโดยยาวอวกาศ นิว โฮไรซอน (ขอบฟ้าใหม่) ซึ่งลอยผ่านดาวดวงในระยะที่ใกล้ที่สุดไปเมื่อเดือนก.ค. โดยภาพถ่ายดังกล่าวมีความละเอียดประมาณ 80 เมตรต่อพิกเซล
ภาพถ่ายระยะใกล้ของพื้นผิวดาวพลูโต แสดงให้เห็นแผ่นน้ำและน้ำแข็งเบียดเสียดกันในภูเขาซึ่งมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า อัล-ไอดริซี (ภาพ: NASA/AFP)
ภาพล่าสุดแสดงให้เห็นทิวทัศน์ของภูเขาซึ่งมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า อัล-ไอดริซี, ทุ่งน้ำแข็งที่มีชื่อเล่นว่า สปุตนิค พลานุม และหลุมบ่อบนพื้นผิวดาวอย่างชัดเจน
ภาพล่าสุดแสดงให้เห็นทิวทัศน์ของภูเขาซึ่งมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า อัล-ไอดริซี, ทุ่งน้ำแข็งที่มีชื่อเล่นว่า สปุตนิค พลานุม และหลุมบ่อบนพื้นผิวดาวอย่างชัดเจน
ภาพถ่ายที่เผยรายละเอียดใหม่ของที่ราบน้ำแข็งบนดาวพลูโตซึ่งเต็มไปด้วยหลุมบ่อ (ภาพ: NASA/AFP)
ทั้งนี้ ยานอวกาศ นิว โฮไรซอน ซึ่งมีขนาดเท่าเปียโน สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการลอยผ่านดาวพลูโตในระยะใกล้ที่สุด โดยห่างเพียง 12,500 กม. และสามารถถ่ายภาพและเก็บข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับดาวดวงนี้ได้เป็นจำนวนมาก
แต่ด้วยระยะห่างระหว่างยานลำนี้กับโลก ทำให้การส่งข้อมูลกับมาให้เหล่านักวิทยาศาสตร์ทำได้ช้ามาก และคาดว่าอาจต้องรอถึงช่วงปลายปี 2016 ข้อมูลจึงจะถูกส่งไปยังโลกครบท้งหมด
ปัจจุบัน ยานอวกาศ นิว โฮไรซอน ยังคงเดินทางลึกเข้าไปในอวกาศ ซึ่งตอนนี้มันอยู่ห่างจากดาวพลูโตประมาณ 167 ล้านกม. และห่างจากโลกประมาณ 5.2 พันล้านกม. และมีกำหนดบินผ่านดาวเคราะห์น้อย '2014 เอ็มยู69' (2014 MU69) ในแถบไคเปอร์ (kuiper belt) อันเป็นวงแหวนนอกวงโคจรของดาวเนปจูนซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ประกอบด้วยก้อนน้ำแข็งมากมาย
ภาพการหมุนรอบตัวเองของดาวพลูโต (ภาพ: NASA/AP) |