โลกอายุยืนอีก 1.75 พันล้านปี ก่อนกลายเป็นดาวน้ำแข็ง |
นักวิทย์เผยโลกจะเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตได้อีกไม่ต่ำกว่า 1.75 พันล้านปี ก่อนจะเคลื่อนตัวไกลจากดวงอาทิตย์จนกลายเป็นดาวน้ำแข็ง
เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2556 เว็บไซต์นิวยอร์กเดลี่นิวส์ รายงานว่า แอนดรูว์ รัชบี้ นักชีวดาราศาสตร์และทีมนักวิจัย ได้ใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์คาดการณ์ออกมาว่า โลกใบนี้จะเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตได้อีกไม่ต่ำกว่า 1.75 พันล้านปี ก่อนที่จะกลายเป็นดาวน้ำแข็งเพราะเคลื่อนตัวห่างจากดวงอาทิตย์ไกลออกไปเรื่อย ๆ
โดยหากอ้างอิงตามหลักการของนาซา ดาวที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้นั้น จำเป็นต้องมีน้ำอยู่ด้วย เนื่องจากน้ำเป็นต้นกำเนิดของชีวิต ซึ่งดาวที่เอื้อต่อการมีชีวิตนี้ ก็จะต้องมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ในระยะที่ไม่ใกล้เกินไปและไม่ไกลเกินไป เพราะใกล้เกินไปจะทำให้ร้อนจนน้ำระเหยไปหมด ในขณะที่หากอยู่ไกลเกินไป น้ำก็จะกลายเป็นน้ำแข็งไปในที่สุด และโลกที่เราอยู่นี้ ก็เป็นดาวที่อยู่ในเขตเอื้อชีวิต
แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้น นักวิทยาศาสตร์ก็เชื่อว่าการโคจรของดาว ทำให้ระยะของดวงดาวมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา และในทุก ๆ ปีเราน่าจะถอยห่างจากดวงอาทิตย์ไป 1 เมตร ซึ่งเมื่อเป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ โลกของเราอาจจะเย็นขึ้น และเมื่อผ่านไปนับพันล้านปี น้ำก็จะเริ่มกลายเป็นน้ำแข็งจนสิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ในที่สุด โดยนักวิทยาศาสตร์คาดว่า กว่าที่โลกจะโคจรพ้นจากเขตเอื้อชีวิตไปสู่เขตห่างไกลดวงอาทิตย์จนสิ่งมีชีวิตอยู่ไม่ได้ ก็ต้องอาศัยเวลาอีกไม่ต่ำกว่า 1.75 พันล้านปี หรืออาจจะยาวนานถึง 3.25 พันล้านปีเลยด้วยซ้ำ
ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์คาดว่าโลกของเราอยู่ในตำแหน่งที่สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ได้มาราว 6.3-7.8 พันล้านปีแล้ว ดังนั้นหากโลกถึงจุดจบในอีก 1.75 พันล้านปีจริง ๆ ก็เท่ากับว่าเวลาที่ผ่านมา เราได้ใช้โลกเป็นที่อยู่อาศัยมานานราว 70% ของอายุโลกในช่วงที่เอื้อต่อการมีชีวิต นับว่าเป็นเวลาที่ยาวนานมากเลยทีเดียว
เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2556 เว็บไซต์นิวยอร์กเดลี่นิวส์ รายงานว่า แอนดรูว์ รัชบี้ นักชีวดาราศาสตร์และทีมนักวิจัย ได้ใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์คาดการณ์ออกมาว่า โลกใบนี้จะเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตได้อีกไม่ต่ำกว่า 1.75 พันล้านปี ก่อนที่จะกลายเป็นดาวน้ำแข็งเพราะเคลื่อนตัวห่างจากดวงอาทิตย์ไกลออกไปเรื่อย ๆ
โดยหากอ้างอิงตามหลักการของนาซา ดาวที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้นั้น จำเป็นต้องมีน้ำอยู่ด้วย เนื่องจากน้ำเป็นต้นกำเนิดของชีวิต ซึ่งดาวที่เอื้อต่อการมีชีวิตนี้ ก็จะต้องมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ในระยะที่ไม่ใกล้เกินไปและไม่ไกลเกินไป เพราะใกล้เกินไปจะทำให้ร้อนจนน้ำระเหยไปหมด ในขณะที่หากอยู่ไกลเกินไป น้ำก็จะกลายเป็นน้ำแข็งไปในที่สุด และโลกที่เราอยู่นี้ ก็เป็นดาวที่อยู่ในเขตเอื้อชีวิต
ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์คาดว่าโลกของเราอยู่ในตำแหน่งที่สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ได้มาราว 6.3-7.8 พันล้านปีแล้ว ดังนั้นหากโลกถึงจุดจบในอีก 1.75 พันล้านปีจริง ๆ ก็เท่ากับว่าเวลาที่ผ่านมา เราได้ใช้โลกเป็นที่อยู่อาศัยมานานราว 70% ของอายุโลกในช่วงที่เอื้อต่อการมีชีวิต นับว่าเป็นเวลาที่ยาวนานมากเลยทีเดียว