Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

" ฮีเลียม3 " บนดวงจันทร์

" ฮีเลียม3 " บนดวงจันทร์ 
ให้พลังงานกับโลกได้หมื่นปี

การทำเหมืองบนดวงจันทร์เพื่อใช้เป็นฐานในการผลิตพลังงานป้อนกลับมายังโลก ไม่ใช่แนวคิดใหม่ แต่เกิดขึ้นมานานแล้วแม้จะอยู่ในลักษณะของแนวคิดในนิยายวิทยาศาสตร์ก็ตามที อย่างไรก็ตาม อนาคตของพลังงานจากซากฟอสซิล อย่างน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติที่ลดน้อยลงและราคาสูงขึ้นตามลำดับ ทำให้บางประเทศเริ่มหันมาจริงจังกับการทำเหมืองพลังงานบนดวงจันทร์กันแล้ว

ประเทศแรกที่กำลังพิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจังมากเป็นพิเศษก็คือ จีน แร่ธาตุที่เป็นเป้าหมายหลักในการทำเหมืองของจีนก็คือ "ฮีเลียม 3" นั่นเอง

"ฮีเลียม 3" เป็นไอโซโทบ (ธาตุที่มีคุณสมบัติทางเคมีเหมือนกัน ต่างกันแต่จำนวนนิวตรอนในนิวเคลียส) ของฮีเลียม แต่ทรงคุณค่ามากในเชิงพลังงาน เนื่องจากมันสามารถนำมาใช้ในโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟิวชั่นที่ไม่ก่อให้เกิดกัมมันตภาพรังสี เพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้าได้นั่นเอง

ฮีเลียม 3 มีปริมาณอยู่สูงมากบนพื้นผิวของดวงจันทร์ นักวิทยาศาสตร์บางคนประเมินว่าปริมาณของฮีเลียม 3 มีมหาศาลมากจนสามารถแก้ไขปัญหาขาดแคลนพลังงานให้กับโลกไปได้อีกนานอย่างน้อย 10,000 ปี นอกจากนั้นเคยมีคนคำนวณไว้เล่นๆ ว่าในปริมาณแค่เท่ากับห้องขนส่งสินค้าของกระสวยอวกาศ สเปซ ชัทเทิล 2 ห้อง (ปริมาตรราว 40 ตัน) ก็สามารถผลิตพลังงานให้คนอเมริกันใช้กันทั้งประเทศสบายๆ 1 ปีเต็มๆ ในอัตราการบริโภคพลังงานปัจจุบัน



ฮีเลียม 3 มีน้ำหนักเบา เป็นไอโซโทปที่เป็น "น็อน-เรดิโอแอคทีฟ" คือไม่ก่อให้เกิดกัมมันภาพรังสี ประกอบด้วยโปรตอน 2 ตัว และนิวตรอน 1 ตัว (ฮีเลียมมีจำนวนนิวตรอน 2 ตัว) ลมสุริยะ (โซลาร์วินด์) เป็นตัวการหอบมันมาสะสมไว้บนพื้นผิวดวงจันทร์ บนพื้นโลก ฮีเลียม 3 พบน้อยมากๆ 

เนื่องจากบรรยากาศและสนามแม่เหล็กโลกป้องกันไม่ให้มันตกลงสู่พื้นผิวโลก แต่บนดวงจันทร์ไม่มีปัญหาเดียวกันนี้....

ถึงขณะนี้ จีนเพียงแค่พิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจังแต่ยังไม่มีแผนดำเนินการที่ชัดเจนใดๆ โอกาสที่จะเกิดการร่วมมือกันในระดับ "นานาชาติ" เพื่อการนี้ก็ยังมองไม่เห็น

เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่า ใครก็ตามที่ครอบครองโครงการนี้โดยตรง สามารถผูกขาดพลังงานของโลกในอนาคตได้นั่นเอง



รายการบล็อกของฉัน