หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

ค้นพบดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ 2ดวง และ (นิยามของดาวเคราะห์)


นักดาราศาสตร์นาซ่า
ค้นพบดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ 2ดวง
คล้ายดาวเคราะห์ ทาทูอีน ในภาพยนตร์สตาร์วอรส์สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นักดาราศาสตร์ประจำหน่วยงานกล้องดาราศาสตร์อวกาศ "เคปเล่อร์" ของนาซาเปิดเผยว่า ได้ค้นพบดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ 2ดวง คล้ายในภาพยนตร์ไฮไฟเรื่องสตาร์วอรส์ ซึ่งมีดาวเคราะห์ชื่อ ทาทูอีน โคจรรอบดวงอาทิตย์ 2ดวง แต่มนุษย์ไม่สามารถอยู่อาศัยได้ เนื่องจากดาวดวงนี้มีบรรยากาศสุดหนาวเย็น คล้ายดาวเสาร์

โดยดาว เคราะห์ดังกล่าวถูกตั้งชื่อว่าดาว "เคปเล่อร์16B"ถูกพบโดยบังเอิญขณะนักดาราศาสตร์กำลังตรวจสอบความสว่างไสวของดาวฤกษ์ 
เป็นจำนวน 155,000ดวงบนท้องจักรวาล ดาวดวงนี้อยู่ห่างจากโลก 200ปีแสง เป็นดาวที่บรรยากาศหนาวเย็นคล้ายดาวเสาร์ มีอุณหภูมิติดลบ 73-101องศาเซลเซียส โคจรรอบดวงอาทิตย์ 2ดวง กินระยะเวลาทุก ๆ 229วัน และมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ทั้งสอง 65ล้านไมล์ และโคจรในลักษณะเกือบเป็นวงกลมอย่างสมบูรณ์แบบ ขณะที่ดวงอาทิตย์ทั้งสองมีมวลสารน้อยกว่าดวงอาทิตย์ของโลก ดวงหนึ่งมีมวลสารน้อยกว่า 69 % และอีกดวง 20 %

ด้านนายอลัน บอสส ผู้ร่วมศึกษาดาวเคราะห์นี้เปิดเผยว่า การค้นพบเป็นน่าตะลึงและน่าตื่นเต้นยิ่ง เนื่องจากโลกได้ว่า มีดวงดาวที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ 2 ดวง
ดาวเคราะห์ คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ หรือก้อนอุกาบาตชนกันมากและนานจนเพิ่มขนาดใหญ่
ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดในปัจจุบันกล่าวว่าดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้น จากการยุบตัวลงของกลุ่มฝุ่นและแก๊ส พร้อมๆ กับการก่อกำเนิดดวงอาทิตย์ที่ใจกลาง ดาวเคราะห์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง สามารถมองเห็นได้เนื่องจากพื้นผิวสะท้อนแสงจาก ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะมีดาวบริวารโคจรรอบ ยกเว้นดาวพุธ และดาวศุกร์....
นิยามของดาวเคราะห์
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์ ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเซ็ก ซึ่งมีนักดาราศาสตร์มากว่า 2500 คนจาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีนิยามใหม่ของดาวเคราะห์ ดังนี้
1.เป็นดาวที่โคจรรอบดาวฤกษ์
2.มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต หรือใกล้เคียงกับทรงกลม
3.มีวงโคจรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง
4.มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 804.63 กม.
5.ไม่ใช่ดาวฤกษ์
6.ไม่ใช่ดวงจันทร์บริวาร
นิยามใหม่นี้ส่งผลให้ ดาวพลูโต และดาวอีรีส ซึ่งเคยนับเป็นดาวเคราะห์ ดวงที่ 9 , 10 ถูกปลดออกจากระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูด และวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ ทั้งยังมีวงโคจรที่ไม่สอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ