Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2560

นาซาพบดาวเคราะห์คล้ายโลกอีก 10 ดวง

นาซาพบดาวเคราะห์คล้ายโลกอีก 10 ดวง
(ภาพจากฝีมือศิลปิน) ดาวเคราะห์ที่พบใหม่โคจรอยู่ในระยะห่างที่เหมาะสมจากดาวฤกษ์ศูนย์กลาง ซึ่งอาจทำให้มีน้ำบนพื้นผิวดาวได้

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือนาซา เผยผลการวิเคราะห์ข้อมูลล่าสุดที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ ซึ่งชี้ว่าได้พบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่มีลักษณะคล้ายโลกเพิ่มขึ้นอีกถึง 10 ดวง โดยดาวเคราะห์เหล่านี้โคจรอยู่ในระยะห่างที่เหมาะสมจากดาวฤกษ์ศูนย์กลาง ซึ่งอาจทำให้มีน้ำบนพื้นผิวดาวและมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตได้

การค้นพบดังกล่าวเป็นข้อมูลชุดสุดท้ายที่ได้จากการเฝ้าสังเกตท้องฟ้าในแถบกลุ่มดาวหงส์ โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์พบดาวเคราะห์ใหม่ 219 ดวงในบริเวณดังกล่าว ซึ่งในจำนวนนี้ 10 ดวงมีลักษณะเป็นหินแข็ง รวมทั้งมีขนาดและอุณหภูมิใกล้เคียงกับโลก เนื่องจากโคจรอยู่ห่างจากดาวฤกษ์ของตนในระยะที่ไม่ทำให้ดาวร้อนหรือเย็นจนเกินไป จนอาจกักเก็บน้ำที่พื้นผิวดาวเอาไว้ได้ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เหมาะสมต่อการกำเนิดและดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับบนโลก

พบชั้นบรรยากาศ บนดาวเคราะห์คล้ายโลกพบระบบสุริยะใหม่
"แทรปปิสต์ - วัน" 
คาดมีน้ำ-เอื้อต่อสิ่งมีชีวิต
ทั้งนี้ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ ซึ่งถูกส่งขึ้นปฏิบัติภารกิจในห้วงอวกาศมาตั้งแต่ปี 2009 ทำหน้าที่มองหาดาวเคราะห์คล้ายโลกนอกระบบสุริยะ เพื่อค้นหาว่าดาวที่มีลักษณะเช่นนี้มีอยู่มากน้อยเพียงใดในกาแล็กซีทางช้างเผือก โดยกล้องเคปเลอร์ใช้วิธีสังเกตปรากฏการณ์ทรานซิต (transit) หรือการเคลื่อนผ่านหน้าดาวฤกษ์ของดาวเคราะห์ ซึ่งแสงสว่างของดาวฤกษ์ที่ถูกบดบังจนลดลง จะทำให้ทราบถึงการมีอยู่ของดาวเคราะห์นั้น รวมทั้งเผยข้อมูลอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติของดาวเคราะห์ที่เคลื่อนผ่านได้ด้วย

ปัจจุบัน กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์พบวัตถุในอวกาศที่คาดว่าน่าจะเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะแล้ว 4,034 ดวง ซึ่งในจำนวนนี้ได้รับการพิสูจน์ยืนยันแล้วว่าเป็นดาวเคราะห์จริง 2,335 ดวง ในกลุ่มนี้มีดาวเคราะห์ที่คล้ายโลกราว 50 ดวงรวมอยู่ด้วย

นอกจากการค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ๆ ที่มีลักษณะคล้ายโลกแล้ว นักดาราศาสตร์ของนาซายังใช้ข้อมูลล่าสุดจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์จำแนกประเภทของดาวเคราะห์ขนาดเล็กนอกระบบสุริยะได้อีกด้วย ซึ่งการจำแนกนี้เทียบได้กับการจัดแบ่งประเภทของสิ่งมีชีวิต (อนุกรมวิธาน) ในทางชีววิทยานั่นเอง

ผลการจำแนกเบื้องต้นพบว่า สามารถแบ่งดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ โดยประเภทแรกคือดาวที่เป็นหินแข็งและมีขนาดใหญ่กว่าโลกเล็กน้อยราว 1.75 เท่า ส่วนอีกประเภทคือดาวเคราะห์ที่มีส่วนประกอบของไฮโดรเจนและฮีเลียมมากขึ้นกว่าประเภทแรก ทำให้มีขนาดขยายใหญ่จนเกือบเท่ากับดาวเนปจูน แต่ดาวกลุ่มนี้ก็จะกลายเป็นดาวเคราะห์ก๊าซที่มีพื้นผิวน้อยหรือไม่มีเลย

นายเบนจามิน ฟุลตัน นักดาราศาสตร์ผู้ดำเนินโครงการวิเคราะห์จำแนกประเภทดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะกล่าวว่า "ดาวเคราะห์สองประเภทนี้คือดาวที่มีอยู่เป็นส่วนใหญ่ในกาแล็กซีทางช้างเผือก แต่น่าประหลาดใจว่า เรากลับไม่พบดาวเคราะห์สองประเภทนี้เลยในระบบสุริยะของเรา" นายฟุลตันกล่าว

รายการบล็อกของฉัน