Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

นักวิจัย เผย ในระบบสุริยะอาจจะมี “ดาวเคราะห์ดวงที่ 9”


นักวิจัยคาดอาจมี “ดาวเคราะห์ดวงที่ 9” ในระบบสุริยะ
ตื่นเต้น! นักวิจัย เผย ในระบบสุริยะอาจจะมี “ดาวเคราะห์ดวงที่ 9” โคจรอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากดาวเนปจูน

วงการดาราศาสตร์ฮือฮา ทีมงานวิจัยนักดาราศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เผย พบเทหวัตถุที่คาดว่าอาจจะเป็น ดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ซึ่งโคจรอยู่ในระบบสุริยจักรวาลของเรา ที่ใหญ่กว่าโลกเราถึง 10 เท่า อีกทั้งยังมีเส้นทางโคจรรอบดวงอาทิตย์ในระยะทางที่ไกลกว่าดาวเนปจูนมากถึง 20 เท่า

ขนาดของ “ดาวเคราะห์ดวงที่ 9”
จากภาพจำลองจากคอมพิวเตอร์ภาพนี้ได้ แสดงให้เห็นถึงดวงดาวลึกลับ ที่นักดาราศาสตร์คาดการณ์ ว่า อาจจะเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ซึ่งโคจรอยู่ในระบบสุริยะเรา ถ้าหากมีอยู่จริง…

ดาวเคราะห์ดวงนี้จะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ถึง 50 เท่าของระยะทางที่โลกห่างจากดวงอาทิตย์ นั่นหมายความว่า ดาวเคราะห์ดวงที่ 9 จะใช้ระยะเวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้ง 1 นานถึง 10,000 ถึง 20,000 ปีต่อรอบ โดยปรกติโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงโคจรใช้เวลา 365.25 วัน 
(ที่เป็นมาตรฐานในการออกปฏิทินแต่ละปีซึ่งในทุกๆ 4 ปี จะมี 366 วัน นั่นเอง)

อย่างไรก็ตาม ดาวเคราะห์ดวงนี้ยังไม่ถูกสังเกตุเห็นโดยตรง เป็นเพียงแค่แบบจำลองจากการวิเคราะห์ของคอมพิวเตอร์เท่านั้น ที่อาจจะมีอยู่จริงหรือไม่มีอยู่เลยก็ได้ ซึ่งแบบจำลองที่ว่าได้ทำการสมมติผลกระทบจากแรงโน้มถ่วงของดาวดวงนั้นที่มีต่อมวลสารต่างๆในบริเวณโดยรอบ และพบว่ามันเป็นอะไรที่เหมาะเจาะและเกือบจะสมบูรณ์แบบมากๆ

นอกจากนี้แบบจำลองของคอมพิวเตอร์ยังได้ทำนายข้าววัตถุอื่นที่อยู่ไกลกว่าดาวเนปจูนในบริเวณที่รู้จักกันว่า “ไคเปอร์ เบลท์”

ศ.ไมค์ บราวน์ และ คอนสแตนติน แบตีย์กิน 2 นักดาราศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย
แบบจำลองนี้ เป็นแนวความคิดของ 2 นักดาราศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย ที่ไม่ได้เห็นดาขอโดนที่ 9 จริงๆแต่ใช้วิวิธีการจากการวิจัยอื่นๆเข้ามาช่วยในการสรุปลักษณะของเทหวัตถุดวงนี้ และอ้างตามหลักการพื้นฐานที่มีมูลความจริงจนพบว่ามีเทหวัตถุจำนวนมากอยู่ในแถบ “ไคเปอร์ เบลท์” ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่เลยจากวงโคจรของดาวเนปจูนออกไปนอกระบบสุริยะรอบนอก

ซึ่งการค้นพบเทหวัตถุ ในครั้งนี้มีลักษณะคล้ายกับดาวเคราะห์จึงนับเป็นการค้นพบดาวเคราะห์ดวงที่ 3 ในแถบ ไคเปอร์ เบลท์ นี่จึงเป็นอีกเหตุผล 1 ที่ทำให้นักดาราศาสตร์ต่างตื่นเต้นกับการค้นพบดาวเคราะห์ดวงดังกล่าว

รายการบล็อกของฉัน